DE

การปฏิรูปการปล่อยชั่วคราว

การปฏิรูปการปล่อยชั่วคราว:การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงและกำกับดูแลในชั้นปล่อยตัวชั่วคราว
coj

 

“คุกมีไวขังคนจน” เป็นถ้อยคำที่หลายคนมักยกขึ้นมาเมื่อพูดถึงกระบวนการยุติธรรม ภาพเปรียบเปรยนี้ได้สะท้อนความคิดว่าเมื่อคนมีเงินถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด มักจะได้รับการประกันตัวเพราะมีเงินพอที่จะยื่นขอประกันตัว แต่เมื่อคนจนถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดมักไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันชั่วคราวเพราะไม่มีเงินหรือไม่มีหลักประกันที่จะทำให้เชื่อว่าจะไม่หลบหนีจากขั้นตอนการพิจารณาดคี แต่จากศึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนารพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรมพบว่า ผู้ที่หนีคดีส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มีเงินหลบหนีคดี ฉะนั้นจึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงระบบการปล่อยชั่วคราวที่ต้องมีหลักประกันเป็นทรัพย์สินหรือตัวเงิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและลดภาระของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ยากจนให้ได้รับการปล่อยชั่วคราวได้มากขึ้น
สถาบันวิจัยรพีฯจึงได้จัดนิติศาสตร์เสวนา ครั้งที่1/2560 ในหัวข้อ การปฏิรูปการปล่อยชั่วคราว:การพัฒนาระบบประเมินความเสี่ยงและกำกับดูแลในชั้นปล่อยตัวชั่วคราว ในครั้งนี้มีวิทยากรร่วมคือเป็นวิทยากรร่วมคือ นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาศาลหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักประธานศาลฎีกา นายมุขเมธิน กลั่นนุรักษ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา นางสาวประพิณ ประดิษฐากร และ นางสาวธัญญานุช ตันติกุล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาล นางสาวสุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา โดยผู้จัดการโครงการมูลนิธิฟรีดริชเนามันได้ร่วมเป็นวิทยากรและออกแบบกระบวนการนำการอภิปรายผ่านการมองภาพประวัติศาสตร์ระบบปล่อยชั่วคราวจากอดีตถึงปัจจุบันและออกแบบกระบวนการร่วมกันคิดถึงภาพอนาคตที่อยากให้เกิดในระบบปล่อยชั่วคราว โดยข้อสรุปในเวทีเสวนาในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงใน COJ News เพื่อเผยแพร่แนวคิดในกับผู้พิพากษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมฝ่ายต่างๆ
29-30 พฤศจิกายน 2559