DE

ประชาธิปไตยจับต้องได้บนแผ่นเกม

SD_RSU

“การจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมของผู้นำ โดยการรับฟังความต้องการของประชาชน สามารถช่วยลอดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้” นักศึกษาภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในช่วงการถอดบทเรียนหลังผ่านการอบรมเกมจำลองเมืองประชาธิปไตย (Sim Democracy) ซึ่งการอบรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย

SD_RSU

ด้วยความพยามในการค้นหาสื่อการเรียนการสอนที่จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน อาจารย์ พรียา มหากิตติคุณ ผู้รับผิดชอบสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ค้นพบสื่อการเรียนรู้เกมจำลองเมืองประชาธิปไตยผ่านทางเฟสบุ๊กเพจและได้เชิญผู้แทน มูลนิธิฟรีดริช เนามัน อบรมเกม Sim Democracy อให้นักศึกษาได้มีการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยก่อนเล่นเกมได้มีการสร้างฐานความรู้เกี่ยวกับหลักการและองค์ประกอบเมืองประชาธิปไตย นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะที่พึงประสงค์ของ พรรคการเมือง ผู้นำ และประชาชน โดยในระบอบประชาธิปไตย โดยในช่วงการเลือกเมือง นักศึกษาส่วนมากเลือกที่จะอยู่เมืองที่มีการเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกถึงสิทธิที่พวกเขามี ในส่วนของพรรคการเมือง นักศึกษาส่วนมากเลือกเป็นพรรคการเมืองที่ยึดมั่นในหลักการ และพรรคการเมืองที่ประสานผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย โดยให้เหตุผลเพื่อการพัฒนาของส่วนรวม และหลักการนั้นสำคัญในการดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์ ในส่วนของผู้นำนักศึกษาส่วนมากเลือกเป็นผู้นำที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และในส่วนของประชาชน นักศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งเลือกเป็นประชาชนที่รู้สิทธิ และใช้สิทธิ อีกครึ่งหนึ่งเลือกเป็นประชาชนที่ต้องการความมั่นคง เพราะคนทุกคนต้องอยู่รอดและมีความมั่นคงในชีวิตก่อนที่จะดูแลผู้อื่น และสังคมต่อไปได้ ลักษณะของพรรคการเมือง ผู้นำ และประชาชน ที่ไม่มีนักศึกษาคนไหนเลือกเลยมีลักษณะเป็นผู้ที่ประสานผลประโยชน์ให้เฉพาะกลุ่มบุคคล หรือเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์เท่านั้น

SD_RSU
SD_RSU

หลังจากนักศึกษาจำนวน 45 คนได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตยตัวแทนแต่ละกลุ่มได้สะท้อนการเล่นเกมในประเด็น ดังต่อไปนี้

1. ความสำคัญของการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล/ผู้นำ ว่ามีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ และตอบสนองกับความต้องการของประชาชน

2. การมีส่วนร่วม และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล/ผู้นำ จากภาคประชาชน ช่วยส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสในรัฐบาล

3. ในกรณีที่มีการกู้ยืมเงิน ขอให้เข้าใจว่าเป็นการกู้ยืมเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่เพราะการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจอะไรที่จะส่งผลกระทบจากส่วนรวมต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

และเพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมในช่วงต้น กับสิ่งที่ได้รับจากการเล่นเกมจำลองเมืองประชาธิปไตย โดยให้นักศึกษาที่ได้เล่นเกมเมืองประชาธิปไตยวิเคาระห์ว่าเมืองที่เขาอยู่เป็นเมืองแบบไหน หรือพวกเขาเป็นประชาชนแบบไหนในเมืองนั้น  นักศึกษาผู้แทนกลุ่มได้กล่าวว่าลักษณะของเมืองที่ตนได้มีประสบการณ์ คือเมืองเลือกตั้ง เพราะ ผู้นำได้เข้ามาโดยการเลือกตั้ง กลุ่มถัดมาบอกว่ากลุ่มของตนเป็น เมืองโปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะ ประชาชนในเมืองมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำหน้าที่และจัดสรรงบประมาณของผู้นำ ส่วนอีกกลุ่มมองว่ากลุ่มของตนเป็น ประชาชนที่รู้สิทธิ และใช้สิทธิ เพราะ ประชาชนในเมืองออกไปเลือกตั้ง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเมืองของรัฐบาล/ผู้นำ

SD_RSU
SD_RSU
SD_RSU