DE

สตาร์ทอัพและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรี

fur die freiheit

SME และ Startup เป็นรูปแบบการประกอบการที่เป็นที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพราะเป็นส่งเสริมเศรษฐกิจแบบตลาด คือ ผู้คนมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ (ภายใต้กฎหมาย) และ ใช้กลไกราคาในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันเป็นหนึ่งในพันธกิจของมูลนิธิฟรีดริช เนามัน

SME ช่วยในการกระจายรายได้ให้กับชุมชนในระดับเล็ก เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างคงที่ การขยายตัวเป็นไปได้ช้ากว่า และเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่ Startup  เป็นการสร้างธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยี และการออกแบบธุรกิจโดยการทำซ้ำ และขยายได้ง่าย เพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดย Startup ส่วนมากเกิดขึ้นเพราะต้องการแก้ปัญหา อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน หรือเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีคนมองเห็น อย่างไรก็ดีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีนั้นสำคัญต่อการเติบโตของ Startup และ SME  และนั่นหมายถึงการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้หลักนิติธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชน

Dinner Talk : Building an Ecosystem for Startups 2017

มูลนิธิฟรีดริช เนามัน และสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA) ได้เล็งเห็นถึงการเพิ่มจำนวนของธุรกิจ Startup ในประเทศไทย แต่ยังเห็นช่องว่างในการพัฒนาของ Startup ในไทย จึงได้มีการจัดเสวนาเพื่อเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและประสบการณ์จากต่างประเทศมาใช้กับประเทศไทย โดยคุณ Siegfried Herzog ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคุณ Samantha Kapunan ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น iWantSeats จากประเทศฟิลิปปินส์

คุณ Siegfried Herzog ได้ยกตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเยอรมนี และตัวอย่างการรวมกลุ่มของ startup ในประเทศเยอรมนี บรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนา เช่น การจับคู่ธุรกิจ การประสานความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาในด้านกฎระเบียบที่ทำให้การสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่อาจชะงักไปบ้าง

คุณ Samantha Kapunan ได้ร่วมแลกเปลี่ยนถึงปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ startup ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการได้รับการสนับสนุนในการระดมทุน การบริการ การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เธอให้ความเห็นว่าแม้ว่าสภาพแวดล้อมสำหรับ startup อาจยังเป็นเพียงช่วงเริ่มต้นในประเทศของเธอ และในอีกหลาย ๆ พื้นที่ แต่สิ่งที่สำคัญคือการสร้างบรรยากาศความเชื่อใจ (trust) เพื่อให้ธุรกิจ startup ได้เติบโตต่อไป

Israel’s Business Startup Model มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

การให้ทุนสนับสนุน University Business Incubator (UBI) หรือศูนย์บ่มเพาะ Startup ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยภาครัฐ เป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างผู้ประกอบการยุคใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงนับเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการบ่มเพาะ Startup และเนื่องในโอกาสครบรอบ 64 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้จัดงานสัมมนา Israel Business Start-up Model เมื่อวันที่ 1 มีนาคม เพราะประเทศอิสราเอลเป็นประเทศที่มีการจดทะเบียนสตาร์ทอัพมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก Silicon Valley, สหรัฐอเมริกา โดย Mr. Yuval Abraham Waks, Deputy Chief of Mission - the Embassy of Israel มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ Israel’s Business Startup Model โดยเสนอเงื่อนไขในการเติบโตของ startup การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างนวัตกรรม และแนวคิดที่ทำให้ Startup และการสร้างนวัตกรรมในอิสราเอลเป็นไปอย่างก้าวกระโดด และเป็นสถานที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการบ่มเพาะสตาร์ทอัพระดับโลก จากการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ หรือบรรยากาศในการเริ่มธุรกิจ หรือริเริ่มความคิดใหม่ ๆ พร้อมกับคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการคิดดังกล่าววางอยู่บนฐานของความต้องการขยายธุรกิจในระดับโลก และพยายามหาทางเลือกจากข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่ ตลาด หรือทรัยพยากร

israel's startup

Startup101 สตาร์ทอัพ สตาร์ทเลย

โดย สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

เสวนา “สตาร์ทอัพสตาร์ทเลย : เริ่มธุรกิจใหม่ให้ประสบความสำเร็จ”

 

ประเด็นหลักในการเสวนา นอกจากการสร้างสภาพแวดล้อม (ecosystem) แล้ว ตัวผู้เริ่มต้นเองก็ต้องมีการปรับตัวหา และค้นคว้าเพิ่มเติมสำหรับการจัดการ และพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ เพราะโดยธรรมชาติ Startup คือ ธุรกิจใหม่ และมีความเสี่ยงสูงเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการในภาคส่วนต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย

คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO ของ SEA Group เจ้าของเกมและเว็บไซต์ซื้อของออนไลน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาของสตาร์ทอัพว่า จะเริ่มจากการรวมกลุ่มตามความชอบ และเข้าหาแหล่งทุน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและปรับตัว ส่วนที่เห็นว่ากลุ่ม Startup ของไทยยังไปไม่ถึงระดับโลกเพราะแนวทางในการขยายธุรกิจของ startup ส่วนมากยังไม่สามารถตอบโจทย์ในระดับสากลได้ ซึ่งสอดคล้องกับที่ ดร. โกศล ทรัพย์ประเสริฐ ผู้ก่อตั้งโรงงานผลิต A.I. Chatbot ได้ให้ความเห็นว่าการสร้าง entrepreneurship ในประเทศไทยต้องเป็นไปควบคู่กับการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแนวความคิด (mind set) ของคนทำงานและผู้ประกอบการในวงกว้าง และต้องมีการปรับตัวภายในเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ คุณอธิป ตันติวรวงศ์ startup ที่ได้รางวัล innovation และเงินทุนเริ่มต้นจาก Havard และ Venture Capital จากตะวันออกกลาง ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่านอกจากการเริ่มต้นธุรกิจต้องเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานแล้ว โดยธรรมชาติแล้ว startup คือความใหม่และมีความเสี่ยงสูง ซึ่งในท้ายที่สุด Startup จะส่งผลในเชิงบวกกับเศรษฐกิจไทยในด้านความคิดสร้างสรรค์และลักษณะเฉพาะให้กับผลผลิตของไทย

ในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายเทคนิคการ pitching โดยคุณ Gerry T. Kierans ผู้เชี่ยวชาญการ Pitching ระดับโลก และ TEDx Talk Speaker

startup101