DE

TEDxChiangMai 2018: Our Common Future

TEDxChiangMai

source: www.facebook.com/TEDxChiangMai

TEDxChiangMai

source: www.facebook.com/TEDxChiangMai

TEDx Chiang Mai จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2011 ภายใต้ชื่อ TEDxDoiSuthep (2011) และ TEDxThapaegate (2012) ก่อนเป็น TEDxChiangMai ในปี 2013 เป็นต้นมา ในแต่ละปีจะมีหัวข้อที่แตกต่างกันออกไป โดยในปี 2018 TEDxChiangMai ได้จัดภายใต้หัวข้อ Our Common Future ซึ่งรวมถึงประเด็นด้านการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญร่วมกัน โดยเปิดประเด็นให้ผู้ฟังได้ขบคิด ตั้งคำถามกับสิ่งที่ได้ฟัง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมจากองค์กรร่วมจัดต่าง ๆ เพื่อแสดงนวัตกรรม และเชิญชวนผู้เข้าร่วมได้มอง “อนาคตเบื้องหน้าร่วมกัน”

Though the fourth industrial revolution is so scary that taking away jobs and changing nature of jobs, and way of life. But people should still come first.

Ng Yeen Seen
TEDxChiangMai

NG Yeen Seen on The Future of Jobs and Education. From www.facebook.com/TEDxChiangMai

The Future of Jobs and Education, NG Yeen Seen

“For all that was saying whether the fourth industrial revolution is so scary. It is taking away jobs. It is changing the nature of jobs, changing business, changing the way of life of human. I think for whatever said, people should still come first.”

According to technological advancement, machinery, robotics and AI (Artificial Intelligence) of the fourth industrial revolution, ten millions of jobs will be taken away, while only few million will be created. People will be displaced by robot and machine that the company will be able to reduce production cost and gain more profits. Those people, who were displaced, still have some values to give to the society. Those people can reposition themselves to use their core competencies with the existing working experience. They can retrain themselves in order to re-enter the job market quickly.

The top 6 important skills in working consist of 1) Values (Trust) 2) Financial Analysis (IQ) 3) Regulations (Compliance) 4) Relationships (EQ) 5) Cross-cultural skills, and 6) Agility and adaptability. These are the 6 skills that employers are looking for. Education 4.0 in Malaysia aims to humanizing the students; to be more collaborative rather than competitive. The most important Q to make people be respected and survive in the next 30 years the LQ, the Q of Love, encompasses, care, empathy, compassion, appreciation, gratitude this is what human is all about.

งาน และการศึกษาในอนาคต - งือ ยีน ซีน

“แม้ว่าคลื่นการปฏิวัติอุตสาหกรรมลูกที่สี่จะน่ากลัว เพราะจะทำให้งานหลายอย่างหายไป เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงาน การทำธุรกิจ รวมถึงเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เรา แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ก็ควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับนึ่ง”

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จักรกล หุ่นยนต์ หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นเหตุให้งานนับสิบล้านตำแหน่งจะหายไปจากโลก และจะงานเพียงไม่กี่ล้านตำแหน่งเกิดใหม่ขึ้นมาแทนที่ การทำงานของมนุษย์จะถูก แทนที่ด้วยหุ่นยนต์และเครื่องจักรเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่คนเหล่านั้นที่ถูกหุ่นยนต์เข้ามาทำงานแทนยังคงสามารถแบ่งปันคุณค่าให้กับสังคมได้อีกมาก โดยอาศัยประสบการณ์ การฝึกอบรมและเรียนรู้ใหม่ (Retraining) เพื่อกลับเข้าไปทำงาน (Re-entry) ในตำแหน่งใหม่ (Repositioning)

ในการพิจารณาคนเพื่อเข้าทำงาน ส่วนมากมักพิจารณาจากทักษะ 6 ด้าน ได้แก่ 1. คุณค่า สามารถไว้ใจได้ 2. มีทักษะในการวิเคราะห์ (IQ) 3. สามารถทำตามกฎระเบียบได้ 4. ทักษะในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (EQ) 5. มีทักษะในการอยู่ร่วมกันบนความต่าง และ 6. ทักษะในการปรับตัว การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในประเทศมาเลเซีย เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและตลาดแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อ สัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การเรียนรู้อย่างร่วมมือแทนที่จะแข่งขัน อีก Q ที่เราควรให้ความสำคัญ และเป็น Q ที่จะทำให้มนุษย์สามารถแข่งขันกับหุ่นยนต์ได้ คือ Q of Love ซึ่งหมายรวมถึงความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สิ่งเหล่านี้แหละที่อธิบายความเป็นมนุษย์

ทำยังไงพวกเราถึงจะเปลี่ยนประเทศไทยได้ เคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองไหมครับ?

Dr. Thanee Chaiwat

ฝนตกไม่ทั่วฟ้า วาสนาคนเราไม่เท่ากัน

เราพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนเยอะมาก แต่เมื่อมาถึงภาคปฏิบัติเราจะทำอย่างไร? ศูนย์เศรษฐศาสตร์และการทดลองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำแบบสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง 800 คนในจังหวัดเชียงใหม่และโคราช ร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างคิดว่าเปลี่ยนแปลงสังคมไทยไม่ได้ และร้อยละ 30 คิดว่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเป็นคนดี รับผิดชอบ สามัคคี ซึ่งพวกเขาทุกคนสามารถทำได้ ต่อมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30 นั้นถูกถามต่อไปว่า ระหว่างสิ่งที่พวกเขาทำ กับอำนาจ เงินทอง ชื่อเสียง พวกเขาคิดว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ทั้งหมดกลับคิดว่าอำนาจ เงินทอง ชื่อเสียงต่างหากที่จะนำประเทศไปสู่ความเปลี่ยนแปลงได้ โดยกว่าครึ่งคิดว่าการมีเงินทองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ตามมาด้วยอำนาจและชื่อเสียงตามลำดับ

การศึกษายังไม่จบเพียงเท่านั้น พวกเขาถูกถามต่อไปว่าทำอย่างไรคนเราจึงจะมีเงินทอง ส่วนมากคิดว่าขึ้นอยู่กับบุญวาสนาตามมาด้วยโชคของแต่ละคน ขณะที่มีเพียงส่วนน้อยที่คิดว่าการมีเงินทองนั้นเกิดจากความขยัน อดทน ตั้งใจทำงานด้วยตัวเอง การศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าหากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำพังการกระทำของตัวบุคคลไม่อาจทำได้หากปราศจากบุญหรือโชคมาช่วยอำนวยความเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรม (Culture) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยสาเหตุบางประการ เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม และเมื่อถึงจุดที่วัฒนธรรมนั้นไม่จำเป็นแล้ว วัฒนธรรมนั้นก็จะดับไป ดังนั้นวัฒนธรรมไม่อาจตีค่าได้ว่าดี หรือไม่ดี หากมองย้อนไปที่รากของสังคมไทยจะเห็นได้ว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตร ที่ความมีกินมีใช้ ความร่ำรวย (เงินทอง) นั้นขึ้นอยู่กับฟ้าฝน สภาพอากาศ ที่ไม่มีใครทราบเลยว่าจะทำให้ได้ผลผลิตหรือไม่ (โชคชะตาฟ้าลิขิต) สังคมไทยยังเป็นสังคมศักดินา คือ นับถือกันตามจำนวนที่ดินที่ถือครอง เมื่อมีจำนวนที่ดินมาก (อำนาจ) ย่อมหมายความว่าความสามารถในการผลิต (เงินทอง) ย่อมมีมากตาม และผู้ที่มีศักดินามากก็ย่อมเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงกว้าง (ชื่อเสียง) จึงเห็นได้ว่าสังคมไทยได้ผูกอำนาจ เงินทอง และชื่อเสียงไว้ด้วยกัน และทำให้เกิดความเชื่อว่าเมื่อคนมีเงินทองแล้ว สิ่งอื่น ๆ ก็จะตามมาเอง

ความเชื่อเรื่องดวง โชค บุญ กรรม เป็นวัฒนธรรมที่ทำให้คนยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้กลับไปตั้งคำถามกับสิ่งที่ผิดเพี้ยนไป และเป็นสิ่งที่กดทับไม่ให้เกิดการตั้งคำถาม ในเมื่อความเชื่อเรื่องดวง บุญ กรรม เป็นวัฒนธรรมแบบหนึ่ง และวัฒนธรรมก็เป็นเทคโนโลยีทางสังคม อนาคตจะเดินไปได้อย่างไรเมื่อวัฒนธรรมไม่ได้พัฒนาไปพร้อมกับเทคโนโลยี/บริบทสังคมในรูปแบบอื่น ๆ?

“กลับไปที่คำถามแรกว่าเราจะเปลี่ยนประเทศไทยได้อย่างไร? ผมไม่รู้ครับ แต่สิ่งที่ผมรู้ก็คือถ้าเรายังเชื่อว่าความแตกต่าง ความไม่เท่าเทียมกันเกิดจากบุญพาวาสนาส่งนี้ เปลี่ยนประเทศไม่ได้ครับ”

TEDxChiangMai

ดร. ธานี ชัยวัฒน์ วาสนาคนเราไม่เท่ากัน ภาพจาก www.facebook.com/TEDxChiangMai