DE

Workshop-Youth
CALD Youth Political Academy

การเล่นบอร์ดเกมไม่เพียงแค่เป็นเครื่องมือในการสอนแต่ยังกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถาม การถกเถียง และ การเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาในปัจจุบันที่อยู่นอกเหนือเนื้อหาของเกม
Sim Democracy on Tabletopia

Tier 1 : The Basics of Liberalism

บอร์ดเกมนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับผู้คนเพื่อสร้างความเข้าใจโดยการนำเรื่องที่ซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงมาปรับให้เข้ากับเกมเพื่อลดความยุ่งยาก การเล่นบอร์ดเกมสามารถส่งเสริมการเรียนรู้และความเข้าใจในรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเกมส่งเสริมให้ผู้เล่นได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและลองสวมบทบาทสมมติ (Role play) โดยวิธีดังกล่าวสะท้อนความเข้าใจของผู้เล่นผ่านการตัดสินใจและการแสดงความคิดเห็นที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นเกม ซึ่งต่างไปจากสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอื่น เช่น การอ่านหนังสือ หรือ การฟังบรรยาย ตามที่ Dr. Rainer Adam อดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ในหลายภูมิภาค และผู้ผลักดันพัฒนาบอร์ดเกม Sim Democracy ให้เกิดขึ้น ได้เล่าถึงแนวคิดในการพัฒนา นอกจากนี้การเล่นบอร์ดเกมไม่เพียงแค่เป็นเครื่องมือในการสอนแต่ยังกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถาม การถกเถียง และ การเปรียบเทียบกับประเด็นปัญหาในปัจจุบันที่อยู่นอกเหนือเนื้อหาของเกม

Sim Democracy นับว่าเป็นอีกเครื่องมือที่สำคัญเพื่อใช้อธิบายการทำงานของระบอบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆในสังคม อีกทั้งเป็นประโยชน์ให้กับพลเมืองที่อาศัยอยู่ในสภาพสังคมที่ไม่มีเสรีภาพทางการเมืองและขาดความรู้ความใจในกลไกของระบอบประชาธิปไตยที่ควรจะเป็น ตามที่คุณ Miklos Romandy ผู้จัดการโครงการภูมิภาค มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่สามารถนำมาอธิบายเกมนี้ได้ผ่านประเด็นในเรื่อง การตรวจสองถ่วงดุล รัฐธรรมนูญ เสรีภาพทางการเมือง และ หลักนิติรัฐ ทั้งนี้การตรวจสอบและถ่วงดุลสามารถอธิบายผ่านกลไกเกมที่ประชาชนในแต่ละพื้นที่สามารถตรวจสอบการใช้ภาษี ตรวจสอบบอร์ดงบประมาณของรัฐบาล รวมทั้งสามารถวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล โดยที่รัฐบาลเองก็มีอำนาจตามกฎของเกมในการตัดสินใจที่จะยังคงไว้ซึ่งนโยบายที่ได้กำหนดไว้เพื่อประโยชน์อันสูงสุดของสาธารณะ โดยกฎกติกาของเกมก็แสดงให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ทุกคนนับว่าเป็นกฎสูงสุดที่ทุกคนต้องยอมรับ อีกทั้งพลเมืองสามารถเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเสรี แสดงให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ปกป้องประชาชนในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีโดยที่รัฐไม่สามารถเอาผิดได้ชี้ให้เห็นถึงหลักหลักนิติรัฐและการมีส่วนร่วมของประชาชน

workshop

Session 2 – Game Play

จากประสบการณ์การเล่นเกมกับทั้งผู้เล่นคนไทยและผู้เล่นนานาชาติแสดงให้เห็นความแตกต่างบางประการ โดยที่ผู้เล่นคนไทยมีพฤติกรรมการเล่นไปในทางช่วยเหลือและประสานงานในทุกบทบาททั้งตัวผู้เล่นและรัฐบาล อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงการเล่นที่มีลักษณะเป็นทีมร่วมกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อองค์รวมของกลุ่มไม่ใช่ชัยชนะของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการหยิบการ์ดสถานการณ์ (Event Card) จึงต้องร่วมกันช่วยกันแก้ปัญหา แม้จะมีการถกเถียงกันระหว่างตัวแทนของแต่ละพื้นที่กับรัฐบาลในการเรียกร้องผลประโยชน์ในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามการถกเถียงและการต่อรองอาจจะยังเห็นไม่ชัด ทั้งนี้การถกเถียงนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของเกมที่สื่อให้เห็นคุณค่าขององค์ประกอบในหลักของระบอบประชาธิปไตย

“ที่สำคัญการเมืองเป็นเกมที่ต้องเล่นเป็นทีม”

Rainer Adam
ดร. ไรเนอร์ อดัม

ในทางกลับกันประสบการณ์การเล่นเกมกับผู้เล่นนานาชาติในโครงการ CALD YOUTH  Political Academy พบว่าผู้เล่นมีพฤติกรรมกระตือรือร้นที่จะเรียกร้องผลประโยชน์ให้กับพื้นที่ต่างๆ จนนำมาซึ่งการแข่งขันระหว่างผู้เล่นในแต่ละทีมผ่านการโต้วาทีอย่างเข้มข้นตลอดการเล่นโดยมีเป้าหมายที่จะให้พื้นที่ของตนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านกลไกของเกมเพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของพื้นที่ของตน แต่ทว่าการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับรัฐบาล ทำให้บางครั้งผู้เล่นอาจไม่สามารถโน้มน้าวรัฐบาลได้เพื่อมาจัดการในพื้นที่ของตน อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของผู้เล่นในกลุ่มนี้คือความแตกต่างในการตัดสินใจ แก้ปัญหา ที่หลากหลาย ซึ่งอาจเป็นผลจากภูมหลังความคิดและประสบการณ์ที่หลากหลายของแต่ละคน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความแตกต่างของกติกาในการหยิบการ์ดสถานการณ์ (Event Card) โดยครั้งนี้มีการหยิบการ์ดในรอบเกมหลังจึงทำให้ผู้เล่นรัฐบาลยังสามารถจัดการปัญหาได้เนื่องจากรัฐบาลสามารถประเมินสถานการณ์ได้จากจำนวนเบี้ยประชากร (Population Chip) ในตอนเริ่มเกมซึ่งต่างจากความเป็นจริงของกติกาเกม

Session 3 Game and Civic

ดร. ธีรพัฒน์ อังศุชวาล อาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Game and Civic Education: A very short handbook of FNF’s experience on game-based learning เล่าว่าเกมในช่วงแรกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อความสนุกสนานระหว่างผู้เล่น ทั้งนี้ในปัจจุบันเกมบางชนิดถูกใช้เป็นสื่อกลางที่ต้องการให้ผู้เล่นเข้าใจถึงประเด็นต่างๆ หรือที่เรียกว่า Serious game ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างความรู้เข้าใจผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นที่นำไปสู่การถกเถียงและแสดงความคิดเห็นจนก่อให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ดำเนินเกมมีหน้าที่ทำให้มั่นใจว่าผู้เล่นได้รับ key message ของเกม อีกทั้งเกมยังสามารถทำให้คนรับรู้ถึงความรู้สึกและความคิดของผู้ร่วมเล่นด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เกมประเภทนี้ยังเป็นสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ (Game based learning) ที่สามารถดึงดูดผู้คนได้หลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงความรู้ผ่านการเล่นเกม จากเดิมที่สื่อการเรียนรู้มีเพียงการอ่านหนังสือ การฟังบรรยาย เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เกมจึงเป็นตัวแปรสำคัญอีกหนึ่งประการในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประเด็นเฉพาะรวมทั้งสร้างความบันเทิงไปในขณะเดียวกัน

          เกมนับว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างความมีส่วนร่วมของพลเมืองให้เกิดขึ้นในสังคม โดยที่เกมสามารถเป็นพื้นที่ให้ผู้คนมารวมตัวกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับรู้ถึงความรู้สึกของผู้เล่นในแต่ละคนซึ่งเป็นประเด็นการพัฒนาทักษะทางสังคมให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยในเรื่องการมีส่วนร่วมและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยในปัจจุบันยังมีบางสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย ดังนั้นเกมจึงเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการสนับสนุนให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนทักษะในการเป็น active citizen ด้วยเหตุนี้เกมอย่าง Sim Democracy จึงไปไกลกว่าความบันเทิง โดยสามารถเเทรกซึมผู้คนให้เกิดความเข้าใจการศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพลเมือง ตลาด และการฝึกอบรมผ่าน Gamification concept  ยังสามารถถูกใช้เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมในการสร้าง gamified society ที่ใช้เกมเป็นสื่อในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน  

ในปัจจุบันยังมีบางสังคมที่ไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย ดังนั้นเกมจึงเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการสนับสนุนให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนทักษะในการเป็น active citizen ด้วย

ดร. ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
ดร. ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
Why so democracy

Why so democracy

คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ CEO แอปพลิเคชันด้านการศึกษา และผู้เขียนหนังสือ Why so Democracy ฉายภาพประเทศไทยและทั่วโลกเผชิญกับปัญหาการถดถอยของระบอบประชาธิปไตย หลายปัจจัยในประเทศไทยล้วนส่งผลต่อความเป็นประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ประการแรก คือ การความขัดแย้งระหว่างคนสองรุ่นในเรื่องค่านิยมที่แตกต่างกัน เป็นเหมือนการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและเสรีนิยมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยต้นตอของปัญหาเกิดจากพื้นฐานความเข้าใจที่ต่างกัน จากบริบทและช่วงเวลาของสังคมที่แตกต่าง เช่น ความเป็นชาตินิยมที่นำ ชาติ ศาสานา พระมหากษัตริย์ไปผูกกับความเป็นชาติ ขณะที่ในปัจจุบันค่านิยมเหล่านี้ก็ถูกท้าทายด้วยเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารที่ไร้ขอบเขต ที่เป็นผลมาจากโลกาภิวัฒน์ ทำให้คนสองรุ่นมีชุดความคิดที่ต่างกันออกไป นอกจากนี้กลุ่มคนที่สนับสนุนในระบอบประชาธิปไตยยังมีความแตกต่างกัน ประชาชนบางกลุ่มมีความเชื่อในระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์ประหลักอย่างความเท่าเทียมและเสรีภาพ ในทางตรงกันข้ามบางกลุ่มมีความเชื่อมั่นว่าระบอบประชาธิปไตยจะนำไปสู่การบริหารของรัฐที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งอาจเป็นกับดักที่นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการ

          ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมนับว่าถูกท้าทายอย่างมากจากเหตุการณ์โรคระบาด โควิด-19 ซึ่งในแต่ละรัฐได้มีการจัดกำสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการดำรงชีวิต เช่น การบังคับให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัย การกักตัว การ Lock down เมืองต่างๆ ทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมากมายในทั่วโลกเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของรัฐในการควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเหตุการณ์นี้เองเราได้เห็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นของประชาชนในการเรียกร้องต่อรัฐบาล เช่น การประท้วงออนไลน์ เกิด Platform ใหม่ๆ ที่เปิดพื้นที่ให้คนออกมาถกเถียงต่อประเด็นดังกล่าว จากสองปรากฏการณ์ดังกล่าว พริษฐ์มีข้อเสนอแนะในการรับมือความท้าทายเหล่านี้ คือ ภาคการศึกษาที่ยังมีความต้องการอิสระภาพทางวิชาการ การเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ยกเลิกวัฒนธรรมบางอย่างที่บ่อนทำลายสิทธิส่วนบุคคล สื่อต้องมีอิสระในการนำเสนอข่าว และการเชื่อมความเข้าใจระหว่างคนสองรุ่นโดยเริ่มจากระดับสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในสังคม

ภาคการศึกษาที่ยังมีความต้องการอิสระภาพทางวิชาการ การเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น ยกเลิกวัฒนธรรมบางอย่างที่บ่อนทำลายสิทธิส่วนบุคคล สื่อต้องมีอิสระในการนำเสนอข่าว และการเชื่อมความเข้าใจระหว่างคนสองรุ่นโดยเริ่มจากระดับสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในสังคม

คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ
คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ

CALD Youth เป็นกลุ่มเยาวชนที่ส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและส่งเสริมการมีส่วนร่วม โดยเชื่อว่าการมีเสรีภาพจะส่งเสริมให้ทุกคนแสดงศักยภาพในการพัฒนาได้อย่างเต็มที่