Workshop-Youth
CALD YOUTH Political Academy Tier 2: Civil and Political Participation (24-25 June 2021)
Session 1 Liam Fanning: PLAYFUL citizens: Theater Games for Civic and Political Participation
กิจกรรมแรกใน Tier Civil and Political Participation มีชื่อว่า PLAYFUL citizens: Theater Games for Civic and Political Participation นำโดยคุณ Liam Fanning โดยกิจกรรมนี้ดำเนินการโดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าเรื่องราวโดยไม่ใช้เสียง แต่ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและภาษากาย ซึ่งกิจกรรมนี้นำไปสู่การเรียนรู้วิธีการฟังที่หลากหลายอันประกอบไปด้วย การฟังคร่าวๆ (extensive listening) การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ (reductive listening) และ การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ (empathetic listening) เป้าหมายหลักของกิจกรรมนี้คือ ทักษะในการฟังที่ให้ความสำคัญและความเข้าใจกับความคิดทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง การออกแบบนโยบาย และการกำหนดเป้าหมายในการชุมนุม นอกจากนี้ผู้ดำเนินการยังมีการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมแรกมาปรับใช้กับ Demonstration Workshop ซึ่ง facilitator แต่ละห้องเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สวมบทบาทริเริ่มการชุมนุม โดยให้แต่ละคนเสนอปัญหาที่ตนเองสนใจ สาเหตุของปัญหา และนโยบายในการแก้ไขกิจกรรมแรกใน Tier Civil and Political Participation มีชื่อว่า PLAYFUL citizens: Theater Games for Civic and Political Participation นำโดยคุณ Liam Fanning โดยกิจกรรมนี้ดำเนินการโดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่าเรื่องราวโดยไม่ใช้เสียง แต่ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและภาษากาย ซึ่งกิจกรรมนี้นำไปสู่การเรียนรู้วิธีการฟังที่หลากหลายอันประกอบไปด้วย การฟังคร่าวๆ (extensive listening) การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ (reductive listening) และ การฟังอย่างเข้าใจและใส่ใจ (empathetic listening) เป้าหมายหลักของกิจกรรมนี้คือ ทักษะในการฟังที่ให้ความสำคัญและความเข้าใจกับความคิดทั้งของผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง การออกแบบนโยบาย และการกำหนดเป้าหมายในการชุมนุม นอกจากนี้ผู้ดำเนินการยังมีการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมแรกมาปรับใช้กับ Demonstration Workshop ซึ่ง facilitator แต่ละห้องเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้สวมบทบาทริเริ่มการชุมนุม โดยให้แต่ละคนเสนอปัญหาที่ตนเองสนใจ สาเหตุของปัญหา และนโยบายในการแก้ไข
Marcin Jerzweski and Taiwan NextGen Foundation
เนื่องจาก CALD YOUTH Political Academy มีแนวทางการอบรมผ่าน game base learning เป็นหลัก ทางผู้ดำเนินการจึงได้มีการใช้เกม PolitiCraft มาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยผู้เล่นแต่ละคนได้รับมอบหมายให้เสนอปัญหาที่ตนเองสนใจและใช้กลไกของเกมแก้ไขปัญหานั้นๆ โดยกลไกที่ว่าคือการ์ด action ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับประเทศร่วมกับการแสดงคาวมคิดเห็นและนำเสนอความคิดต่อผู้เล่นคนอื่น เช่น Media Mogul, Vote, Intern, Petition, Host a Town Hall Meeting, Build a website เป็นต้น เป้าหมายของเกมคือการเก็บคะแนน social impact ได้มากที่สุด รวมถึงดำเนินผ่านการคิดและการเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาทางสังคมซึ่งมาจากความสนใจของแต่ละผู้เล่น นอกจากนี้เกมดำเนินการผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดและนำเสนอนโยบายจึงทำให้ปัญหาและคำตอบไม่ถูกจำกัดโดยกติกาของเกม จากประสบกาณ์การเล่นเกม PolitiCraft ร่วมกับผู้เล่นที่มาจากหลากหลายประเทศซึ่งมีปัญหาและสภาวะในสังคมที่แตกต่างกัน จึงนำไปสู่การเสนอปัญหาและนโยบายการแก้ไขที่หลากหลาย อาทิเช่น นโยบายการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ สิทธิของแรงงานต่างชาติในประเทศไต้หวัน เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด และเสรีภาพของสื่อในประเทศไทย เป็นต้น
เป้าหมายขององค์กร Taiwan NextGen Foundation คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างรอบด้านทั้งในฐานะพลเมืองและฐานะผู้นำ พร้อมๆ กับการลดความไม่เท่าเทียมในการมีส่วนร่วม คอนเซปต์ของการมีส่วนร่วมทางการเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง (Political Participation) ความรู้เกี่ยวกับการเมือง (Political knowledge) และความมีประสิทธิภาพทางการเมือง (Political efficacy) โดยองค์ประกอบเหล่านี้ดำเนินผ่านกระบวนการที่เริ่มจาก การมีความรู้เกี่ยวกับการเมือง (Political Knowledge) เชื่อมโยงกับความมีประสิทธิภาพทางการเมือง (Political Efficacy) เพราะประชาชนมีความเชื่อว่าการกระทำของตนส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ นำไปสู่ความตั้งใจที่จะลงมือทำ (Intention to political action) ตามลำดับ ซึ่งสุดท้ายแล้วนำไปสู่ผลลัพธ์คือ การลงมือทำ (political action)
กลไกนี้จะดำเนินวนกลับไปที่ขั้นตอนแรกและเกิดขึ้นตามลำดับต่อไป นอกจากนี้บทบาทของอินเตอร์เน็ตและ Gamification ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านความรู้ทางการเมืองซึ่งมีการเรียนการสอนทั้งการเรียนตัวต่อตัว คอร์สเรียน และแพลตฟอร์มออนไลน์
Anna Marti: Digital Activism
การมีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นการกระทำใด ๆทั้งเต็มใจและไม่เต็มใจ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ หรือ ใช้วิธีถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม เพื่อมีผลอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐในการกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย การบริหารงานภาครัฐ โดยมีหลายรูปแบบ เช่น การประท้วง การออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นนับว่ามีความสำคัญยิ่งกับระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม เนื่องจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองนับว่าเป็นหัวใจหลักที่ก่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลภาครัฐจากภาคประชาชนและภาคสังคมต่าง ๆ เพื่อสร้างความโปร่งใส ความมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในประเทศนั้น ๆ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามีบทบาทอย่างมากจากโลกาภิวัฒน์ เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถทำให้คนติดต่อสื่อสารกันได้อย่างไร้ขอบเขต และนับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในสังคมในทศวรรษที่ผ่านมา ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เช่นการรับรู้ข่าวสารทั่วโลก การแสดงความคิดเห็นการวิพากษ์ การแบ่งปันและการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีจึงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ประชาชนสามารถใช้เป็นตัวต่อรอง ตรวจสอบ ถ่วงดุลกับรัฐในปัจจุบัน (digital activism) ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ในปัจจุบันเช่น การประท้วงออนไลน์ผ่านพื้นที่อย่าง Twitter และ Facebook นอกจากนี้กรณีศึกษาที่สำคัญอีกหนึ่งกรณีที่ชี้ให้เห็นถึงบทบาทขอเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น ม็อบดาวกระจายที่สามรถนัดรวมกลุ่มผู้ชุมนุมได้อย่าง real time โดยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาล
เยาวชนในสังคมต่างๆ ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีก็ได้ใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการชูประเด็นที่พวกเขาต่างมีความกังวล เช่น ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ประเด็นเรื่องความเท่าเทียม เป็นต้น ที่สามารถสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างมาก เช่น #LGBTQ #Blacklivesmatter เป็นต้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีและโลกดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลในการตรวจสอบถ่วงดุลกับรัฐ และ เพิ่มพื้นที่ในการมีส่วนร่วม และที่สำคัญที่สุดคือเทคโนโลยีเปรียบเสมือนกระบอกเสียงของประชาชน ที่สร้างความเชื่อมั่นว่าเสียงของพวกเขาดังพอที่จะได้รับการรับฟัง
Lii Wen: Matsu a unique Constituency (case study)
ในส่วนนี้เป็นกรณีศึกษาการใช้การแคมเปญหาเสียงอย่างสร้างสรรค์ในการเลือกตั้งที่เกาะ Matsu การเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคการเมืองอย่าง DDP ได้รับสัดส่วนคะแนนน้อยกว่าพรรคการเมืองอย่าง KMT ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองไปในทางอนุรักษ์นิยม แต่ทว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรค DDP ได้รับคะแนนในอัตราส่วนที่เพิ่มมากขึ้นอยากมีนัยยะสำคัญ
เกาะ Matsu เป็นส่วนหนึ่งของไต้หวันเคยตกอยู่ภายใต้ประเทศญี่ปุ่นในปี 1895-1945 และตั้งแต่ปี 1911 เป็นต้นมาตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน ในปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของไต้หวัน เกาะ Matsu เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสงครามเย็น เฉกเช่นเดียวกับกำแพงเบอร์ลินในเยอรมนี หรือ เขตปลอดทหารเกาหลี Korean DMZ ทั้งนี้เกาะ Matsu มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดกับประเทศจีนในจังหวัดฟูเจียน ทำให้คนในพื้นที่ส่วนมากพูดภาษาจีนฟูเจียนซึ่งเป็นคนละภาษากับไต้หวั่นที่พูดภาษจีนแมนดาริน ด้วยความที่มีอาณาเขตใกล้ชิดกับประเทศจีนส่งผลให้คนในพื้นที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมและยึดถือวัฒนธรรมของจีนเป็นส่วนมาก ทำให้การเลือกตั้งในพื้นที่เกาะ Matsu เน้นเอียงไปเลือกพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) ภายใต้แนวคิดการรวมตัวเป็นเอกภาพกับสาธารณะรัฐประชาชนจีน ซึ่งพรรค KMT ให้ความสำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศจีน เช่น การค้าขายกับจีน เป็นต้น ซึ่งต่างจากอีกขั้วการเมืองของไต้หวันอย่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP) ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นไต้หวัน การเป็นอิสระจากประเทศจากจีน รวมทั้งสนับสนุนการทำการค้าระหว่างประเทศกับ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น
โดยการเลือกตั้งในเกาะ Matsu ที่ผ่านมาพรรคที่ได้คะแนนเสียงส่วนมากคือพรรค KMT แต่ทว่าพรรค DPP ก็ได้รับคะแนนเสียงในอัตราส่วนที่เพิ่มมากขึ้น จาก 1.33% ในปี 2006 ขึ้นมาเป็น 19.81% ก่อนปี 2020 ด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.) อัตราที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการที่เยาวชนในพื้นที่กลายเป็นผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งและคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ต้องการผู้นำที่มีแนวคิดหัวสมัยใหม่ในการบริหารจัดการมากกว่าพรรคการเมืองเดิมอย่าง KMT 2.) การดำเนินนโยบายของพรรค DPP สอดคล้องกับความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยระหว่างการรณรงค์แคมเปญหาเสียงในพื้นที่ ผู้ลงเลือกตั้ง (Lii Wen) ได้หยิบยกอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของคน Matsu มาปรับเข้ากับการหาเสียงให้เป็นไปได้อย่างสร้างสรรค์และเข้าถึงได้ง่าย พร้อมทั้งส่งเสริมการส่วนร่วมให้กับประชาชนที่ไม่ฝักใฝฝ่ายใดกับการเลือกตั้งครั้งนี้ 3.) การเลือกพรรคที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมมีแนวโน้มที่ลดลง สัดส่วนคะแนนที่มากขึ้นเช่นนี้นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นบนเกาะ Matsu แห่งนี้
เหตุการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในโลกออนไลน์มีความสำคัญมากขึ้นในประเทศไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอพพลิเคชั่น LINE Facebook และ Twitter ประกอบกับรัฐบาลไต้หวันก็ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับข่าวสารบิดเบือนที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด เพื่อลดความเข้าใจผิดและความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากข้อมูลบิดเบือนเหล่านั้น
จากการเข้าร่วม CALD Youth Political Academy ใน Tier ที่สอง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้การมีส่วนร่วมในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสนอรูปแบบปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นในสังคม อีกทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลง แนวทางการเรียนรู้ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำแนวคิดและขั้นตอนการมีส่วนร่วมทางการเมืองไปปรับใช้กับชีวิตจริงได้ นอกจากนี้ ท่ามกลางภาวะประชาธิปไตยทดถอยทั่วโลกจากการระบาดของโรคโควิดที่ 19 ประชาธิปไตยแบบไม่เป็นทางการกลับมีบทบาทมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งประชาธิปไตยแบบไม่เป็นทางการนั้นเกิดจากการใช้ Social media ให้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ให้ประชาธิปไตยดำเนินต่อไปได้ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ให้คนมีส่วนร่วมในการถกเถียงและยกประเด็นขึ้นมาพูดในสังคมมากขึ้น และยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการถ่วงดุลและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้เกิดการตรวจสอบข้อมูลบนพื้นฐานความเป็นจริงซึ่งป้องกันการนำไปสู่ความขัดแย้ง