DE

Thailand Talks 2023
9 สื่อ ภาคีหลักของกิจกรรม Thailand Talks 2023 ชวนพูดคุย แลกเปลี่ยน ถกเถียงกับคนที่คิดไม่เหมือนกัน

เมื่อเห็นต่าง ต้องคุยกันได้ คุยให้เข้าใจ เพื่อให้สังคมไทยไปต่อข้างหน้า
Thailand talks

มูลนิธิฟรีดิช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ชวน 9 สื่อผู้ร่วมจัดหลักของโครงการ Thailand Talks มาร่วมพูดคุยกับ เพื่อปูทางไปสู่ความเข้าใจว่า ทำไมยิ่งเห็นต่าง ยิ่งต้องคุยกัน

 

 

 

 

“ การคุยกับคนเห็นต่าง มันเหมือนการที่เราได้ไปสัมผัสมิติบางอย่างของเขา เป็นประตูเริ่มต้นที่จะเปิดเข้าหากัน มันอาจทำให้สังคมคลี่คลายปมบางอย่าง ร่วมกันได้”

 

ธนกร วงศ์ปัญญา
ธนกร วงษ์ปัญญา ,บรรณาธิการ The STANDARD

เราจำเป็นต้องคุยกับคนเห็นต่างจากเรามั้ย ?

เอก-ธนกร บรรณาธิการ The STANDARDเห็นถึงปัญหาของการการกระจุกตัวกันของข้อมูลอย่างชัดเจน ในยุคที่อินเตอร์เน็ตควรทำให้เราเข้าถึงข้อมูลชุดต่างๆได้อย่างรอบด้านมากขึ้น แต่มันกลับไม่เป็นแบบนั้น

“เราคุยกันได้นะกับคนที่คิดไม่เหมือนกัน และยิ่งต้องคุยด้วย ด้วยอาชีพนักข่าวแบบเราจะต้องคุยกับคนตลอดเวลา ความคิดเห็นมันหลากหลายมาก และทันทีที่มันมีความแตกต่างทางความคิด แปลว่ามันจะต้องมีความขัดแย้งอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ แต่อย่างน้อยพอเราเริ่มต้นจากการรับฟัง มันเหมือนการเริ่มต้นเปิดประตู ชวนกันค่อยๆคลี่คลายปมบางอย่าง เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความรู้จักคนที่คิดไม่เหมือนเรา เป็นการฝึกความอดทนของเราเองด้วย ”

 

“ มันเหมือนการเปิดกะลาออกมาดู เราจะได้เห็นความจริงรูปแบบอื่นๆ การรับฟังเป็นเรื่องสำคัญมาก เราแลกเปลี่ยนกัน เพื่อจะอยู่ด้วยกันให้ได้ ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนความคิดคนอื่นด้วยซ้ำ ”

 

the matter
สุทธิพัฒน์ กนิษฐกุล , The MATTER

ตูน-สุทธิพัฒน์ เล่าให้พวกเราฟังถึงประสบการณ์การคุยกับคนเห็นต่างของเขา ตั้งแต่คนไกลตัว ไปจนถึงคนในครอบครัว

“ครอบครัวค่อนข้างสนใจการเมือง แต่เราไม่ได้มีจุดยืนทางการเมืองเหมือนครอบครัว ส่วนใหญ่เราเป็นคนรับฟังเค้า เราใช้วิธีค่อยๆคุยกันวันละนิดวันละหน่อย ยกตัวอย่างจากสถานการณ์รอบตัว ตั้งแต่เรื่องการประท้วง การอุ้มหาย การไม่เข้ารับปริญญา มันเกิดการแลกเปลี่ยนกันมาเรื่อยๆ นั่นคือวิธีที่เราจะสามารถทำลาย Echo chamber ได้ จนถึงตอนนี้ในครอบครัวสามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง โดยที่ไม่จำเป้นเลยที่จะต้องคิดเห็นไปในทางเดียวกันก็ได้ มันอยู่ด้วยกันได้ ผมเชื่อแบบนั้น”

 

“ เราคุยกันได้จริงๆ -- การคุยกับคนเห็นต่าง ไม่ใช่เพื่อให้เขาหันมาคิดเหมือนเรา แต่คือการหาจุดร่วมกันตรงกลาง ให้สังคมมันเดินไปข้างหน้าได้มากกว่า ”

voice
ฤทธิกร มหาคชาภรณ์ General Manager | Voice TV

เราจะคุยกับคนที่เห็นต่างยังไง ?

แชมป์-ฤทธิกร ชี้ให้เห็นว่าการคุยกับคนคิดต่าง เป้าประสงค์นั้นไม่ใช่การเปลี่ยนใจให้เขามาคิดเหมือนเรา 

“แน่นอนว่าในสังคมประกอบไปด้วยคนที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามด้วยซ้ำ การพูดคุยกันมันไม่จำเป็นที่จะต้องคุยด้วยอารมณ์ เปิดใจรับฟัง เอาเหตุผลมาคุยกัน เราต้องใส่ mindset ว่าเราจะเข้าใจคู่สนทนาของเรามากขึ้นได้ยังไง คือการพยายามทำความเข้าใจความแตกต่างหลากหลายของความคิด อย่าตั้งป้อม ต่างฝ่ายควรต่างหวังว่าจะเข้าใจอีกฝ่ายมากขึ้นมากกกว่า”

 

รับฟัง เปิดกว้าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นี่คือหัวใจสำคัญของการคุยกับคนเห้นต่างที่จะพาเราไปสู่มุมมองใหม่ๆในอนาคตได้

 

today
พริสม์ จิตเป็นธม รองบก.สำนักข่าว Today

“อย่างน้อยเราจะได้แลกเปลี่ยนชุดประสบการณ์ ชุดความจริงของกันและกัน ในโลกที่ทุกอย่างมันเยอะไปหมดการจะหาจุดร่วมกันมันยากมาก การคุยกัน การพยายามเข้าใจข้อมูล วิธีคิดของคนอื่นนี่แหละ ที่จะทำให้เราคมขึ้น เห็นภาพรอบด้านมากขึ้น”

 

101
ฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB - 101 Public Policy Think Tank ศูนย์ความรู้นโยบาย

เราจะได้อะไรจากการคุยกับคนที่คิดต่างจากเรา ?

 

“เราผ่านช่วงเวลาความขัดแย้งกันมามาก แม้แต่ภายในบ้านเดียวกัน มันใกล้ตัวมากๆ การที่เราได้คุยกัน ได้สร้างพื้นที่ร่วมกัน เข้าใจ เคารพความหลากหลาย มันทำให้เราอยู่ร่วมกันได้จริงๆ แม้ว่าเราจะเห็นไม่ตรงกันก็ตาม”

 

 

“ ปัญหาที่เราเจอจริงๆในช่วงหลัง ไม่ใช่ว่าคนเห็นต่างคุยกันไม่ได้ แต่เค้าเลือกจะไม่คุยกันเลย ชิงตัดบท เซ็นเซอร์ตัวเองก่อน ถ้าไม่คุยกัน เราก็จะหาจุดลงตัวกันไม่ได้ การเปิดพื้นที่ให้คนที่ขัดแย้งได้พูดคุยกันจึงสำคัญมากๆ”

 

mng
ชนะ ผาสุกสกุล | ผู้จัดการออนไลน์

“เพราะว่าในชีวิตจริงโอกาสมันน้อยมากที่เราจะได้พูดคุยกับคนที่เห็นต่างจากเรา อย่างมีจังหวะโอกาสที่จะได้รับฟังกันจริงๆ Thailand Talks จึงเป็นเหมือนแบบฝึกหัดหนึ่งที่จะสร้างทักษะสำคัญติดตัวเราไป นั่นคือการรับฟัง อย่างน้อยที่สุด เราจะได้ฝึกหลักการในการใช้เหตุผล และการยอมรับความหลากหลายให้ได้”

 

thairath+
รุ่งฤทธิ์ เพ็ชรรัตน์, บรรณาธิการฝ่ายสังคมการเมือง | ไทยรัฐพลัส

“ ต่อให้เราคุยกับคนเห็นต่างในโลกออนไลน์ แต่เราจะไม่ได้เห็นสีหน้าแววตาของเขา ภาษากายของเขา หรือบางทีเราอาจจะพลาดจุดสำคัญที่เราจะเชื่อมโยงกันได้ การออกไปพูดคุยกับคนที่คิดไม่เหมือนเรานอกจอ ยังคงสำคัญอยู่เสมอ ”

 

thaipbs
อรุชิตา อุตมะโภคิน บรรณาธิการข่าว Thai PBS | The Active

“กระบวนการของ Thailand Talks มันช่วยให้เราคุยกันได้มากขึ้น ฟังกันมากขึ้น มันคือการสะท้อนกันไปมา ทำให้เราสามารถได้ข้อมูลบางอย่างที่เราอาจจะผิด อาจจพลาด อาจจะถูก แต่เราได้ทบทวนชุดข้อมูลเหล่านั้น และทำให้เราเข้าใกล้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง”

 

prachathai
บัส-เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหาร | ประชาไท

“ทัศนคติของเราที่เรายึดถือ มันเป็นประโยชน์ต่อรเารึเปล่า หรือเรากำลังขาดมุมมองบางอย่าง นี่คือโอกาสที่เราจะได้ฟังเสียงของคนอื่น และฟังเสียงของตัวเองอีกครั้ง เผลอๆเราอาจจะมีความต่างกันน้อยกว่าความเหมือนก็ได้ นี่เป็นกระบวนการที่จะช่วยเป็นผ้าเบรกสังคม ช่วยเตือนสติเราได้มากเหมือนกัน ”

หลากหลายมุมมอง หลากหลายแง่คิดที่มีต่อการคุยกับคนเห็นต่าง แล้วตัวคุณเอง คิดเห็นอย่างไร เราจะสามารถคุยกับคนเห็นต่างได้ หรือ ไม่ได้ ?

ถ้าคุณมีความเชื่อว่ายิ่งเห็นต่าง ยิ่งต้องคุยกัน หรือเพียงอยากทดลองมีบทสนทนาที่ยากจะหาได้จากกิจกรรมอื่น  เมื่อการจับคู่สมบูรณ์แล้ว เตรียมตัวมาเจอกัน วันที่ 26 พฤศจิกายน 2023 ที่ เดอะเกรท รูม ชั้น 29 พาร์คสีลม (The Great Room, Park Silom)

ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

ปีนี้มีกิจกรรมพิเศษที่จะพาผู้เข้าร่วมไปสัมผัสประสบการณ์การตั้งคำถาม แสดงจุดยืนของตัวเอง และค้นหาจุดยืนของผู้อื่นเพื่อทำความเข้าใจกันและกันให้มากขึ้นผ่านเกม Talk to Transform

ติดตามการอัพเดทกิจกรรมได้ที่ https://www.facebook.com/thailandtalks.org/ 

#เห็นต่างคุยกันได้ #ทอล์คให้เข้าใจแล้วไปต่อ #คุยให้เข้าใจแล้วไปต่อ