ประเทศไทย
บอร์ดเกมส์สามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาภาคพลเมืองได้
ในยุคที่ถูกควบคุมโดยดิจิตอล และความสนใจที่มีประเดี๋ยวประด๋าว สิ่งที่ไม่ต่างจากฮีโร่ในด้านการศึกษาคือบอร์ดเกม ที่ FNF พัฒนาขึ้น เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าบอร์ดเกมส์มีศักยภาพที่จะเสริมสร้างการศึกษาทางพลเมือง โดยใช้เป็นแพลตฟอร์มที่น่าดึงดูดและน่าตื่นเต้นซึ่งสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความซับซ้อนของประชาธิปไตยและความเป็นพลเมืองได้
ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ "SIM Democracy" บอร์ดเกมที่ออกแบบโดย FNF ที่ได้รับเลือกเป็นนวัตกรรมประชาธิปไตยที่ World Forum for Democracy ที่ Strassbourg ประเทศฝรั่งเศษ ในปี 2014 ด้วยวิธีการเล่นที่น่าตื่นเต้น ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นพลเมือง นักการเมือง และนักบริหาร มีส่วนร่วมในการจัดทำงบประมาณ การตกลง และความรับผิดชอบทางพลเมือง ผ่านการเรียนรู้ประสบการณ์นี้ ผู้เล่นจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในกระบวนการประชาธิปไตยและความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางพลเมือง
Sim Democracy เป็นทางเลือกในการศึกษาประชาธิปไตยแก่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First time voter) นักเรียนส่วนมากเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยในห้องเรียน ส่วนผู้เล่นของเกม Sim Democracy เรียนรู้ประชาธิปไตย ผ่านการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และ การออกแบบนโยบาย
อีกทั้ง เกมSim Democracy ยังได้รับตำแหน่งอันทรงเกียรติจากงาน ‘The Best Practices Manual on Democracy Education’ จัดโดย The United Nation Democracy Fund และได้รับการรับรองในรายงาน 'From Participation to Influence: Can youth revitalize democracy?‘ ในปี2014 โดย Word Forum Democracy
การดำเนินเกม
ในเกม SIM Democracy ผู้เล่นได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในภาคส่วนสำคัญของสังคม เช่น การศึกษา ความปลอดภัย สาธารณสุข และเกษตรกรรม ผู้เล่นแต่ละคนต้องเสนอนโยบายและดำเนินการออกแบบนโยบายพื้นฐาน และผู้เล่นทุกคนจะโหวตเพื่อเลือกนโยบายที่ดีที่สุด ผู้นำที่ถูกเลือก (รัฐบาล) ต้องจัดการบริหารงบประมาณและค่าใช้จ่ายจากแต่ละภาคส่วนในขณะที่ต้องดำเนินผ่านความท้าทายที่ไม่คาดคิด
ประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อดีของการใช้บอร์ดเกมส์เพื่อการศึกษาทางพลเมืองนั้นรวมไปถึงการเรียนรู้ในความรู้ที่ขั้นสูง โดยเกมเหล่านี้ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ที่ การวางแผนกลยุทธ์ และการทำงานร่วมกัน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพลเมืองที่มีความรู้และมีส่วนร่วมทางพลเมือง เกม Sim Democracy สามารถช่วยให้ผู้เล่นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นร่วมสมัยในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยไม่มีอุปสรรคของความกลัวที่เกี่ยวข้องกับการสนทนาทางการเมือง
การเดินทางของบอร์ดเกมส์เข้าสู่สถานศึกษาได้รับความสำเร็จ ใน ปี 2015 คณะกรรมการเลือกตั้งแห่งประเทศไทยได้ทำงานในเชิงรุก โดยส่งเกม SIM Democracy ให้กับโรงเรียนที่นักเรียนเป็นชนกลุ่มน้อยในเชียงใหม่ จากนั้นได้ขยายถึงโรงเรียนทั่วประเทศ กระแสตอบรับในเชิงบวกจากนักเรียนที่มีส่วนร่วมปรากฎให้เห็นถึงประสิทธิภาพของนวัตกรรมนี้ และศักยภาพของเกมที่ก่อให้เกิดความมีส่วนร่วมและให้ความรู้กับประชากรนักเรียนหลากหลายกลุ่มทั่วประเทศ
ความสำเร็จที่น่าทึ่งของ SIM Democracy ได้ผลักดันให้มีการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคทางภาษา โดยมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เกาหลี พม่า ฝรั่งเศส และบาฮาซา อีกทั้งความสำเร็จนี้ได้รับการยืนยันเพิ่มเติมมากขึ้นผ่านการฝึกอบรมที่ดำเนินการทั่วโลก ที่ครอบคลุมหลายประเทศ เช่น เกาหลี พม่า อินเดีย แอฟริกาใต้ ภูฏาน ซิมบับเว และเยอรมนี ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในศรีลังกา ได้มีการส่งเกมไปยัง FNF ในศรีลังกา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาภาคพลเมืองและส่งเสริมการมีส่วนร่วมมากขึ้นในกลุ่มเยาวชน
สรุปได้ว่า ขณะที่ผู้ที่ให้ความรู้และนักบริหารกำลังค้นหาวิธีในการเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาภาคพลเมือง บอร์ดเกมมีความโดดเด่นในการเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลสำหรับการส่งเสริมพลเมืองให้มีส่วนร่วมและความรู้ การผสมผสานของความบันเทิงและความรู้ภายในบอร์ดเกมนั้นทำให้บอร์ดเกมเป็นแพลตฟอร์มที่มีไดนามิก กล่าวคือผู้เล่นสามารถสำรวจความซับซ้อนของประชาธิปไตย และเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ทำให้เกิดเป็นพลเมืองที่มีความตื่นตัวและตื่นรู้ ถึงเวลาแล้วที่จะจะต้องตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของบอร์ดเกม ซึ่งสามารถสร้างบุคลากรที่จะเป็นผู้นำในอนาคตได้โดยเพียงการทอยลูกเต๋าในแต่ละครั้ง