freedom of expession
ลืมไม่ได้ - จำไม่ลง หลากหลายภาพชีวิตผ่านผลงานของ ลาวัณย์ อุปอินทร์ ศิลปินหญิงคนแรกที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(จิตรกรรม)
ข้างหลังภาพแห่งความขัดแย้ง คือพื้นที่ยืนหยัดว่าเราทุกคนต้องมีเสรีภาพในการแสดงออก
ลาวัณย์ อุปอินทร์ ได้บอกเล่าถึงความรู้สึกขณะวาดภาพสะท้อนเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญของประเทศไทยในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์ทั้งสองนี้สะเทือนใจเธอเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 6 ตุลา วิทยุยานเกราะ วิทยุที่กระจายเสียงไปกว่า 200 สถานีทั่วประเทศในเวลานั้นได้ปล่อยข่าวลวงว่าเธอเป็นคนแต่งหน้านักศึกษาให้เหมือนกับรัชกาลที่ 10 ไปขึ้นแสดงละครเวที ข่าวนี้ดังไกลไปถึงประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีนักศึกษาหลายคนที่ช่วยยืนยันว่าตัวเธอเองไม่ได้เป็นคนทำ แต่ลาวัณย์ก็พบในเวลาต่อมาว่านักศึกษาเหล่านั้น รวมถึงนักศึกษาหญิง ถูกถอดเสื้อผ้าเหลือแต่ชุดชั้นใน และถูกควบคุมตัวไว้ในรั้วของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในตอนนั้นหาสื่อไทยยากมากที่เล่าเรื่องราวในฝั่งของนักศึกษา ลาวัณย์ใช้เวลารวบรวมภาพถ่ายจากสื่อต่างประเทศมาเพื่อเป็นแบบในการวาด โดยใช้ดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์แทนตัวเองและความนึกคิดของตนในช่วงนั้น เราจะเห็นว่าทรงของดอกกุหลาบและองค์ประกอบตรงกลางรูป คือเครื่องหมายคำถาม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อรูป ที่ชื่อว่า “ทำไม” นั่นเอง
บ้านเมืองเราเป็นเมืองพุทธศาสนา อย่างที่แทนด้วยสัญลักษณ์พระพุทธรูปในภาพ แต่เรากลับมีความอดทนอดกลั้นต่อกรรับฟังความเห็นที่ต่างจากเราน้อยมาก แม้แต่ตอนที่เกิดเรื่องใส่ร้ายขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลา ตัวคุณลาวัณย์เองก็ทำอะไรไม่ได้ มันมีแต่คำถามเต็มไปหมด ว่าทำไม ทำไมเราถึงได้มีพื้นที่ให้ความเข้าใจเกิดขึ้นน้อยมาในสังคมของเรา
ลาวัณย์ อุปอินทร์ กล่าวกับทีมงาน
“เรามีความอดทนต่อคนที่คิดต่างจากเรากันน้อยมาก ทั้งๆที่เราควรจะฟังกันมากกว่านี้ คุยกันมากกว่านี้ แม้แต่ความเข้าใจผิดกันต่างๆที่เกิดขึ้น ก็ยากที่จะมีพื้นที่ได้แก้ต่าง หรืออธิบายตัวเอง”
ต่างความคิด ผิดแค่ไหน ? ในสังคมที่ผู้มีอำนาจ ไม่อนุญาตให้ตั้งคำถาม
อีกหนึ่งภาพเขียนที่ตั้งอยู่อย่างโดดเด่นภายในห้องจัดแสดงของนิทรรศการ Live to tell คือภาพผลงานของคุณสมโภชน์ อุปอินทร์ ศิลปินคนสำคัญของไทยผู้ทำงานศิลปะแนวคิวบิสม์ที่สะท้อนเนื้อหาทางการเมืองภายใต้บรรยากาศของยุคที่เสรีภาพในการแสดงออกถูกจำกัด และสื่อถึงความเจ็บปวดของประชาชนในวันนั้นอย่างชัดเจน
ผลงาน กรุงเทพฯ 2500 เป็นหนึ่งในผลงานที่ได้รับความบันดาลใจมาจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เคียงข้างกับหญิงสาวผู้ที่โดนเรียกว่า 'แม่หม้ายผ้าขาวม้าแดง' โดดเด่นด้วยไก่สีแดงตัวใหญ่ สื่อถึงจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ผู้โดนทำรัฐประหาร เปรียบเสมือนการเชือดไก่ให้ลิงดู สิ่งสำคัญภายในภาพอีกอย่างหนึ่ง คือบุคคลที่นอนฟุบอยู่บริเวณด้านล่างสุดของภาพในลักษณะที่โดนแยกออกเป็นชิ้นส่วนและอ้าปากกว้าง ยากที่จะตีความว่ากำลังยิ้มแย้ม หรือร้องไห้ นั่นคือภาพแทนของประชาชนในยุคสมัยนั้น โดยภาพใบหน้าของบุคคลที่ปรากฎชัดอยู่ยนผืนผ้าใบนั้นถูกแต่งแต้มขึ้นมาในภายหลังจากการเสียชีวิตของจอมพลสฤษฎิ์ เพราะตัวของคุณสมโภชน์เองก็มีความกังวลถึงความปลอดภัยของตนเองและครอบครัวที่จะสื่อสารเนื้อหาของถาพในช่วงเวลานั้นเช่นเดียวกัน
น้อยครั้งที่เราจะได้เห็นภาพเขียนที่บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทยอย่างตรงไปตรงมา ไม่ใช่เพราะแวดวงศิลปะไม่สนใจความเป็นไปของสังคม แต่เพราะราคาที่ต้องจ่ายของศิลปินที่ออกมาส่งเสียงรังสรรค์ผลงานนั้น สูงเกินกว่าที่ควรจะมีใครต้องรับผิดชอบราคานั้นเพียงลำพัง
การมีพื้นที่ที่เราสามารถพูดคุย โอบรับความเห็นที่หลากหลาย แตกต่าง จึงสำคัญเสมอในทุกยุคทุกสมัย ประวัติศาสตร์ได้ย้ำเตือนกับเราอยู่บ่อยครั้งว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเราไม่พูดคุยกัน หากความขัดแย้งไม่ถูกคลี่คลาย การพูดคุยเพื่อไปต่อ เผชิญหน้าเพื่อหาทางออกร่วมกัน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะพาเราก้าวผ่านแต่ละปัญหา แต่ละช่วงเวลาที่คุกรุ่นแต่ละหน้าประวัติศาสตร์ไปด้วยกัน
บ้านอุปอินทร์ชวนทุกคนมาชมผลงานของสองศิลปิน สมโภชน์ และลาวัณย์ อุปอินทร์ จัดแสดงผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมสะท้อนเรื่องราวทางการเมือง ยกผลงานชิ้นเด่นอย่าง Politician และรูปเหมือนที่เคยโดนกรีด ผลงานชุดนี้นอกจากจะเผยให้เห็นความงามและเทคนิคทางการสร้างสรรค์ ยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองไทยอีกมากมายให้ทุกคนได้ย้อนฟัง ผ่านมุมมองของศิลปิน
นิทรรศการครั้งนี้ อิศร์ อุปอินทร์ ตั้งชื่อว่า "LIVE TO TELL" ชื่อนี้สื่อหมายความว่าอย่างไรนั้น ชวนทุกคนมาหาคำตอบได้ในทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เวลา 12.00 - 17.00 น. ที่ House of Upa-In
“ยิ่งถ้าบ้านเมืองเราไม่เป็นประชาธิปไตย เราก็จะถูกปิดปากไว้อย่างนั้น เต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม อย่างในภาพนี้”
ยิ่งเห็นต่าง ยิ่งต้องคุย ชวนมาแลกเปลี่ยนที่ Thailand Talks ปีที่ 3
มูลนิธิฟรีดิช เนามัน เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าสังคมไทยสามารถก้าวผ่านปัญหาและความขัดแย้งต่างๆในสังคมไปได้โดยการพูดคุยและรับฟังความเห็นที่แตกต่างกัน การสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่เราจะพูดคุยกันได้จึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ทางมูลนิธิจึงมีกิจกรรม Thailand Talks จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ คือปีที่ 3 ที่เราอยากจะเชิญชวนให้ทั้งสังคมมาพูดคุยกัน
สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 13 พฤศจิกายนนี้ ที่
https://thailandtalks.org/register
เมื่อการจับคู่สมบูรณ์แล้ว เตรียมตัวมาเจอกัน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2023
ที่ เดอะเกรท รูม ชั้น 29 พาร์คสีลม (The Great Room, Park Silom)
ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
ปีนี้มีกิจกรรมพิเศษที่จะพาผู้เข้าร่วมไปสัมผัสประสบการณ์การตั้งคำถาม แสดงจุดยืนของตัวเอง และค้นหาจุดยืนของผู้อื่นเพื่อทำความเข้าใจกันและกันให้มากขึ้นผ่านเกม Talk to Transform
(สงวนสิทธิเฉพาะผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมไทยแลนด์ ทอล์ค 2023 เท่านั้น ไม่รับวอร์คอิน)
#เห็นต่างคุยกันได้ #ทอล์คให้เข้าใจแล้วไปต่อ #คุยให้เข้าใจแล้วไปต่อ