One Fri-day ตอนที่ 2 Facilitator ไม่เท่ากับ Facilitation
10 เมษายน 2563 Facilitator ไม่เท่ากับ Facilitation ชวนคุยเรื่องกระบวนการผ่านประสบการณ์ของพี่แมรี่ ดร. พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล และ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ และ ดร. ชลัท ประเทืองรัตนา แขกรับเชิญที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกระบวนการ
Facilitator เป็นองค์ประกอบหนึ่งของ Facilitation ด้วย Facilitation เองไม่ได้มีทฤษฎี แต่เป็นประสบการณ์การริเริ่มกระบวนการ จึงนำมาสู่การชวนคุยถึงประสบการณ์ สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา การเป็น facilitator ในกระบวนการ facilitation ต้องเป็นทั้งสถาปนิก นักบิน และไกด์[1] คือต้องออกแบบ นำทาง และชวนพูดคุย เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบ คือ มีเป้าหมายอะไร (what do we want to achieve) ทำเพื่อใคร (for whom) และ คำถาม (question) โดยเฉพาะการตั้งคำถามเป็นทักษะที่ต้องลองฝึกเรื่อยๆ เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย การตั้งคำถามควรต้องสั้น ง่าย ตรงไปตรงมา นอกจากนี้การเลือกเครื่องมือขึ้นมาใช้ยังต้องขึ้นกับเป้าหมายอีกด้ว
จากนั้นพี่แมรี่ได้เล่าประสบการณ์ Facilitation ที่ผ่านมา โดยมีพลเอก เอกชัย ร่วมเพิ่มเติมจากประสบการณ์ในเวที “เสียงคนอีสาน ที่ต้องฟังก่อนปฏิรูป” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2557 และเวทีสาธารณะในจังหวัดชายแดนใต้ ว่าลักษณะของคนแต่ละพื้นที่ส่งผลกับการจัดกระบวนการเหมือนกัน อย่างทางใต้ในคราวนั้นเกิดจากการที่ผู้เข้าร่วมก็ยังไม่รู้จักกันมาก ยังไม่รู้จัก facilitator และไม่ค่อยชอบการใช้กระบวนการจำนวนมากๆ พอเห็นบรรยากาศไม่ค่อยดีก็ต้องเข้าไปช่วย ขณะที่เวทีที่อุบลนับได้ว่าประสบความสำเร็จ เปิดพื้นที่ เปิดใจให้คนคุย
ในช่วงท้าย ผู้เข้าร่วมได้สะท้อนว่าการแลกเปลี่ยนวันนี้ทำให้เห็นภาพกิจกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เห็นทักษะและความเชี่ยวชาญที่เกิดจากการฝึกทำและเรียนรู้ หลักการออกแบบที่ตอบเป้าหมายและผู้เข้าร่วม รวมถึงความยืดหยุ่นและประสบการณ์ที่เข้ามามีส่วนในการออกแบบและลงมือทำในการจัดกระบวนการ
ติดตามกิจกรรม One Fri-day ได้ทุกวันศุกร์ เวลา 14.00 น. และอัพเดตได้จากทางเพจ FNF Thailand