DE

สื่อเสรี
วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 2024 – สถานะและความสำคัญของเสรีภาพสื่อในเอเชียแปซิฟิก

Thai Delegation Cofact Thailand

FNF, CoFact Thailand, and a delegation of Thai journalists conducted interviews with Shataakshi Verma, Project and Development Manager at RSF, and Melina Froidure, Project Assistant at RSF, in Taipei

© FNF

เพื่อเฉลิมฉลองวันเสรีภาพของสื่อมวลชนโลกปี 2024 มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ประเทศไทย (FNF Thailand) ได้ร่วมมือกับ CoFact Thailand นำเสนอบทสัมภาษณ์พิเศษองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ Reporters Without Borders (RSF) สำนักงานไทเป ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มีเป้าหมายในการ ‘ปกป้องสิทธิของคนทุกคนในการเข้าถึงข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างมีเสรีภาพ’

ในบทสัมภาษณ์ของเรา คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง CoFact Thailand ได้ร่วมพูดคุยกับ คุณชาตากษิ เวอร์มา ผู้จัดการโครงการและการพัฒนา และ คุณเมลิน่า ฟรอยดูร์ ผู้ช่วยโครงการ แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ RSF กำลังทำเพื่อปกป้องและส่งเสริมเสรีภาพของสื่อในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ทำไมเสรีภาพของสื่อถึงสำคัญ

เสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นหลักการที่สำคัญสำหรับประชาธิปไตย เพราะสื่อเสรีช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่เป็นสิ่งจำเป็นในการตัดสินใจของประชาชน การที่สื่อไม่มีเสรีภาพจะเสี่ยงต่อการที่รัฐบาลและกลุ่มคนที่มีอำนาจจะใช้อำนาจโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ ซึ่งนำไปสู่การทุจริตและระบบเผด็จการ ดังนั้น สื่อเสรีมีบทบาทสำคัญเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and balance) ทำให้มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในสังคม

สถานการณ์ของเสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ตามดัชนีเสรีภาพของสื่อมวลชนโลกปี 2024 (World Press Freedom Index 2024) จัดทำโดย RSF พบว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเสื่อมถอยมากขึ้น จาก 32 ประเทศ มี 26 ประเทศที่มีคะแนนลดลง การจัดอันดับเหล่านี้พิจารณาจากปัจจัย 5 อย่าง ได้แก่ สภาพการเมือง ปัจจัยสังคม สภาพเศรษฐกิจ กรอบกฎหมาย และความปลอดภัยของนักข่าว

คุณเวอร์มาและคุณฟรอยดูร์เน้นข้อเสียของแนวโน้มที่ท้าทายที่ถูกเปิดเผยโดยดัชนีเสรีภาพของสื่อมวลชนโลกล่าสุด ที่แสดงให้เห็นถึงการกีดกันเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชนโดยรัฐบาลทั่วโลก โดยเฉพาะในเกาหลีเหนือที่ติดอันดับที่ 177 และจีนที่ติดอันดับที่ 172 รัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาดในการควบคุมสื่อ ในทวีปเอเชีย เช่นในเวียดนาม (อันดับที่ 174) และพม่า (อันดับที่ 171) มีนักข่าวหลายคนถูกต้องโทษจำคุก สะท้อนถึงสถานการณ์ของเสรีภาพของสื่อมวลชนที่น่าเป็นห่วง กัมพูชาที่ติดอันดับที่ 151 รัฐบาลลงโทษนักข่าวเพิ่มมากขึ้น โดยทำให้เสรีภาพของสื่อมวลชลเข้าสู่สภาวะ "วิกฤต"  ฟิลิปปินส์ที่ติดอันดับที่ 134 ยังคงเป็นหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อนักข่าวมากที่สุดในภูมิภาค โดยมีการรายงานถึงการเสียชีวิตของนักข่าว 2 รายในปี 2023

ในปี 2024 พบว่ามีเพียง 1% ของประชากรโลกที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศที่มีการรับรองเสรีภาพของสื่อมวลชน

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน

การคุกคามเสรีภาพของสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตย

แม้กระทั่งประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยก็ไม่สามารถหลบหนีความท้าทายต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนได้ ในเกาหลีใต้ (อันดับที่ 62) รัฐบาลแจ้งข้อหาต่อสื่อหลายแห่งในความผิดคดีหมิ่นประมาท ในขณะที่ในประเทศมาเลเซีย (อันดับที่ 107) รัฐบาลบล็อกเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวในแง่ลบต่อประเทศตัวเอง

ไม่ว่าจะพบกับอุปสรรคต่อเสรีภาพของสื่อหลายรูปแบบ หลายประเทศประชาธิปไตยในภูมิภาคเช่น ติมอร์-เลสเต (อันดับที่ 20), ซามัว (อันดับที่ 22), และ ไต้หวัน (อันดับที่ 27) ยังคงเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเสรีภาพของสื่อมวลชน

การต่อสู้ของ RSF เพื่อเสรีภาพของสื่อในยุคของ AI

องค์กร Reporters Without Borders (RSF) กำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องเสรีภาพของสื่อมวลชนในแวดวงดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 RSF ร่วมมือกับองค์กร 16 แห่งเพื่อเปิดตัว กฎหมายของปารีสเกี่ยวกับ AI และสื่อสารมวลชน จัดขึ้นที่งาน Paris Charter on AI and Journalism at the Paris Peace Forum.

กฎหมายนี้ได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการภายใต้การนำของ มาเรีย เรซซ่า (Maria Ressa) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ (Nobel Peace Prize winner)  โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดหลักการที่มีจริยธรรมเพื่อปกป้องคุณธรรมของข่าวในยุคของปัญญาประดิษฐ์ (AI) หลักการเหล่านี้มีความสำคัญเนื่องจาก AI กำลังเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง

การสร้างความเชื่อมั่นในสื่อมวลชน: โครงการให้ความไว้วางใจในสื่อมวลชน

โครงการ Journalism Trust Initiative (JTI) ออกแบบมาให้เป็นระบบที่สามารถรับรู้และตอบรับการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนที่มีจริยธรรมตามมาตรฐานสากล คล้ายกับมาตรฐาน ISO โดยโครงการ JTI มีเป้าหมายในการส่งเสริมความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชนที่ซึ่งยึดโยงกับจรรรณยาบรรณสื่อ โปรแกรมนี้กำลังถูกนำมาใช้ในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มองโกเลีย และฟิลิปปินส์

เราจะต่อสู้กับข่าวปลอมอย่างไร?

คุณเวอร์มาและคุณฟรอยดูร์ เสนอว่าสามารถช่วยตรวจสอบและรับมือกับข่าวปลอมได้ด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

• ร่วมมือกับกลุ่มท้องถิ่น: การรวมข้อมูลจากองค์กรขนาดเล็กที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนได้อย่างละเอียด

• วิเคราะห์และเผยแพร่ข้อมูล: สนับสนุนความรับผิดชอบของหน่วยงานและสื่อต่างๆ

• เฝ้าระวังและสังเกตุการโจมตี: RSF ติดตามการโจมตีนักข่าว การจำคุก และการแพร่ข่าวปลอมระดับโลกอย่างใกล้ชิด โดยข้อมูลเหล่านี้ช่วยคาดการณ์แนวโน้มและพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาในอนาคต

 

รับชมบทสัมภาษณ์ได้ที่ : https://www.facebook.com/CofactThailand/?locale=th_TH 

 

 

 

Sky Chatuchinda is the regional communication officer for the Friedrich Naumann Foundation for Freedom.