เอเชียตะวันออกเชียงใต้และเอเชียตะวันออก
อนาคตของการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน ในประเทศไทย
ในขณะที่บางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยอมรับกลุ่มหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่การขาดการรับรองทางกฎหมายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันก็นับเป็นความไม่เท่าเทียมอย่างหนึ่ง การที่ประเทศไทยกำลังพิจารณาในการเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก่อให้เกิดไฟความหวังในหัวใจของหลายคน
ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่รับรองคู่รักเพศเดียวกัน เหล่า LGBTQ ก็พร้อมกันร่วมใจเข้าร่วมจัดพิธีแต่งงานจำลองในวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมา เช่นในประเทศฟิลิปปินส์ เมืองเคซอนซิตี้จัดพิธีสัญญาประจำปีสำหรับคู่รัก Queer ในขณะที่ในประเทศไทย มีคู่รักเพศเดียวกันเข้าร่วมพิธีแต่งงานจำลองจำนวนมาก อีกทั้งได้ความสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมีเจ้าหน้าที่จัดการจัดพิธีเหล่านี้สำหรับคู่รัก LGBTQ ในทุกเขตของกรุงเทพมหานครฯ ทั้งหมด 50 เขต ถือเป็นสัญลักษณ์ของความหวังที่อาจนำไปสู่การสมรสระหว่างเพศเดียวกันในทางกฎหมาย
ประเทศไทยกำลังเข้าใกล้สู่การเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองสมรสเพศเดียวกันทางกฎหมาย โดยในปี 2566 นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ประกาศว่าคณะรัฐมนตรีได้มีการรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่สภาผู้แทนราษฎรได้เริ่มการอภิปรายในวันที่ 21 ธันวาคม 2023 และนอกจาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมฉบับของคณะรัฐมนตรีแล้ว ยังมีร่าง พ.ร.บ.อื่นอีก 3 ฉบับ คือฉบับที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล พรรคประชาธิปัตย์ และภาคประชาชน โดยทุกร่างพ.ร.บ.ทุกฉบับได้รับการสนับสนุนอย่างมากในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีมติการลงคะแนนคะแนน 360-10 ประเทศไทยกำลังรอการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการชั่วคราวเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ และปรับรวมเข้าด้วยกันโดยใช้ฉบับของคณะรัฐมนตรีเป็นกรอบ ร่างกฎหมายรวมจะผ่านไปทางสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นจะส่งต่อไปยังวุฒิสภา และเมื่อวุฒิสภาเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีจะเสนอร่างพ.ร.บ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย สำหรับชาว LGBTQ+ ถ้า พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมผ่าน ก็จะเกิดสายรุ้งในท้องฟ้าต้อนรับยุคสมัยใหม่ในประเทศไทย สมัยที่ให้ความสำคัญกับความเคารพซึ่งกันและกัน ความเท่าเทียม และเสรีภาพในการแสดงออกอย่างแท้จริง
ความซาบซ่าของ Gay Community ในประเทศไทย
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะโด่งดังว่าเป็นสวรรค์สำหรับชาว LGBTQ ด้วยความครึ้กครื้นของชาว Gay และ Transgender แต่การยอมรับทางกฎหมายสำหรับคู่รักเพศเดียวกันยังไม่ถูกรับรองภายใต้กฎหมายสมรสในปัจจุบัน ร่างพ.ร.บ.ทั้งสี่ที่เสนอมีวัตถุประสงค์ในการทำให้การสมรสเพศเดียวกันถูกต้องตามกฎหมายโดยลบข้อจำกัดในเรื่องเพศจากนิยามของการสมรส และแทนที่ว่าเพศหญิงต้องแต่งงานกับเพศชาย ให้เปลี่ยนจาก เพศหญิงและชาย เป็น "บุคคล" หากการแก้ไขดังกล่าวประสบความสำเร็จ ประเทศไทยจะเข้าร่วมกับเนปาลและไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่สนับสนุนการสมรสเพศเดียวกันไม่กี่ประเทศในทวีปเอเชีย
ร่าง พ.ร.บ. เสนอให้สิทธิแก่คู่รักเพศเดียวกันในการรับบุตรบุญธรรมและอนุญาตให้พวกเขาเข้าถึงประโยชน์จากสิทธิพิเศษต่าง ๆ ที่ถูกสงวนไว้สำหรับคู่รักหญิงชายที่แต่งงานจนถึงตอนนี้ รวมถึงการลดหย่อนภาษี การให้ความยินยอมทางการแพทย์สำหรับคู่สามีภรรยา การบริหารจัดการทรัพย์สินร่วมกัน และสิทธิในการมรณะส่วนบุคคล นอกจากนี้การแต่งงานยังให้สิทธิแก่เจ้าหน้าที่รัฐ LGBTQ+ ในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพสาธารณะต่าง ๆ การเคลื่อนไหวในปัจจุบันเป็นการสะท้อนทิศทางของความคิดและบรรทัดฐานของสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป และแสดงถึงการรับรู้และการยอมรับที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความสำคัญของความเท่าเทียมและความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Inclusion)
สิทธิความเสมอภาคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ศาลรัฐธรรมนูญของไต้หวันได้พิพากษาให้คู่รักเพศเดียวกันมีสิทธิเท่าเทียมกับคู่สมรสที่มีเพศตรงข้ามในปี 2560 การสมรสเพศเดียวกันเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม 2562
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีประเทศใดอนุญาตให้มีการสมรสเพศเดียวกันจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างน้อยก็มีความก้าวหน้าเกิดขึ้น ในประเทศฟิลิปปินส์ คณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับเพศหญิงและความเท่าเทียมทางเพศ มีมาตราการห้ามเลือกปฏิบัติจากเรื่องความเป็นเพศ เพศสภาพ การแสดงออกทางเพศ หรือ ความเป็นตัวตนทางเพศ และในประเทศเวียดนาม รัฐบาลออกกฎห้ามการบำบัดเพื่อเปลี่ยนรสนิยมทางเพศ ในปี 2565 และ ยกเลิกคำตัดสินในการแบนความสัมพันธ์ของเพศเดียวกัน
ในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมาก ในประเทศอินโดนีเซีย มาตรา 1 ของกฎหมาย No.1 ระบุชัดเจนว่าการสมรสเป็น "ความสัมพันธ์ร่างกายและจิตวิญญาณระหว่างผู้ชายและผู้หญิงเป็นสามีภรรยาที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างครอบครัวที่มีความสุขและยั่งยืนอยู่บนความศรัทธาต่อพระเจ้าทรงมีพระองค์เดียวในการอำนวยความสุขและความสมดุล" การศึกษาวิจัยโดย Pew Research Centre ในประเทศอินโดนีเซียในปี 2066 พบว่า 92% ของประชาชนอินโดนีเซียต่อต้านการสมรสเพศเดียวกันซึ่งเป็นประเทศที่มีประชาชนต่อต้านมากที่สุด และตามด้วยประเทศมาเลเซีย ที่ยังมีกฎหมาย "กฎหมายห้ามมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน" (anti-sodomy law) มาตรา 337 ของประมวลกฎหมายอาญาระบุว่า ผู้ใด "มีเพศสัมพันธ์ผิดธรรมชาติกับผู้ชาย ผู้หญิง หรือสัตว์ใด ๆ โดยสมัครใจ" อาจถูกจำคุก 20 ปี และหรือ โดนเฆี่ยนตีและหรือต้องโทษค่าปรับ
สิ่งที่รออยู่ข้างหน้า
ในขณะที่บางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ยอมรับความสัมพันธ์เพศเดียวกัน แต่โดยรวมแล้วก็นับว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจนในการยอมรับ LGBTQ+ มากขึ้นในภูมิภาคนี้ การรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมและแนวโน้มที่จะมีการอนุมัติกฎหมายดังกล่าวในประเทศไทยจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าชาว LGBTQ+ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึง “สังคมเพื่อเราทุกคน” (Inclusive Society)
*Sky Warisala Chatuchinda is the Regional Communication Officer for the Friedrich Naumann Foundation for Freedom