DE

Cyber Security
กิจกรรมรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม (PLACE OF JUSTICE) ภายใต้โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคประชาสังคม

pimrapaat

Dr.Pimrapaat was the moderator for Place of Justice Public Hearing

ปัจจุบันอาชญกรรมไซเบอร์ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำของมนุษย์ ทำให้หลายหน่วยงานให้ความสำคัญในการป้องกัน คุ้มครอง รวมถึง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเป็นคำตอบสู่คำถามที่ว่า “แล้วทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับอาชญกรรมไซเบอร์ ?”

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทยได้ร่วมจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม (PLACE OF JUSTICE) ภายใต้โครงการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคประชาสังคมโดย ดร.พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ทำหน้าที่เป็นพิธีกรและผู้ดำเนินรายการเสวนา ในหัวข้อ "อาชญากรรมไซเบอร์กับบทบาทผู้ตรวจการแผ่นดิน"

ปัจจุบันอาชญกรรมไซเบอร์ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำของมนุษย์ ทำให้หลายหน่วยงานให้ความสำคัญในการป้องกัน คุ้มครอง รวมถึง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงเป็นคำตอบสู่คำถามที่ว่า “แล้วทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับอาชญกรรมไซเบอร์ ?”

ในยุคแรก ก่อนจะมาเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ ได้ถูกเรียกว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาก่อน ซึ่งเกิดจากการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ทางกายภาพ เช่น การทุบทำลาย จากนั้นมีวิวัฒนาการเป็นการดัดแปลงข้อมูลทางธุรกิจ ทางการเงิน ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่เป็นเจ้าของ ซึ่งต้องกระทำกับคอมพิวเตอร์โดยตรง ต่อมาเมื่อระบบอินเทอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นทำให้ไม่ต้องกระทำกับคอมพิวเตอร์โดยตรง และไม่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้น ทำให้คำนิยามได้เปลี่ยนแปลงไป จากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาสู่ อาชญากรรมไซเบอร์

ซึ่งการที่เราให้ความสำคัญกับอาชญกรรมไซเบอร์นั้น เนื่องจากอาชญกรรมไซเบอร์ส่งผลกระทบต่อทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ โดย 1. ด้านวัตถุจะเป็นการแก้ไข ทำลายข้อมูล หรือระบบมัลแวร์ ตัวอย่างเช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ส่งไปทำลายการทำงานของระบบ, logic bomb ทำงานตามที่กำหนดว่าจะให้เกิดเหตุการณ์อะไร ในเวลาที่กำหนด, Trojan horse ซอฟแวร์ที่แอบทำงานลับ ๆ เพื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ เป็นต้น และ 2. ในด้านจิตใจ มีผลต่อส่วนบุคคลและสังคมโดยรวมเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่เราพบเห็นได้บ่อยอย่าง Cyber Bullying การกลั่นแกล้งข่มเหงผ่านทางออนไลน์ หรือ Vishing การหลอกลวงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเงินผ่านทางโทรศัพท์อินเทอร์เน็ตหรือที่เรารู้จักกันว่า “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” หรือแม้แต่ในระดับสังคมก็มีการใช้ Information operation ซึ่งเป็นการใช้เนื้อหาแย่งชิงความเชื่อมวลชน

นอกเหนือไปจากการทำงานของภาครัฐ เราได้เห็นการทำงานของภาคประชาสังคมที่เพิ่มมากขึ้น อย่าง โคแฟก ที่มีภารกิจในการ Fact Checking แล้วโคแฟกทำอะไรบ้าง ?

pimrapaat

ภารกิจของโคแฟก คือ การตรวจสอบเนื้อหา สืบหาต้นตอ วิเคราะห์ที่มา สืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ สัมภาษณ์ ขอข้อมูล-คำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง โดยประเด็นที่โคแฟกทำการตรวจสอบ ได้แก่

  • ข้อมูลผิด (misinformation) และข่าวลวง (fake news) ที่ไม่ซับซ้อน
  • ข้อมูลเท็จทางการเมืองที่เผยแพร่โดยเจตนา (political disinformation)
  • ข้อมูลของภาครัฐ คำกล่าวอ้างของบุคคลสาธารณะ นักการเมือง พรรคการเมือง

แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของโคแฟกก็ยังมีความท้าทาย เนื่องจาก 1.ข้อมูลเท็จหรือข่าวลวงมีปริมาณมหาศาล ทำให้เกิดคำถามว่าจะตามหักล้าง ป้องกัน สกัดได้อย่างไร 2.Beyond fake news ฟันธงไม่ได้ว่าเท็จหรือจริง แต่เป็นความคิดเห็นที่ทำให้เหมือนเป็นข้อมูลจริง 3.ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลเท็จถูกเผยแพร่อย่างเป็นขบวนการ เป็นระบบ มีเครือข่ายบัญชีผู้ใช้งานที่ปฏิบัติร่วมกัน (ต้องใช้เครื่องมือในการยืนยัน) และ 4.คนไม่สนความจริง เชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ รู้ทั้งรู้ว่าเท็จ แต่ยังใช้ข้อมูลนั้นทำลายผู้อื่น

อีกทั้งโคแฟกได้มีข้อเสนอแนะต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็นการรับมือ ไม่ใช่แค่ตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประจำหน่วยงาน หรือชี้แจงข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ แต่ต้องร่วมกันสร้างระบบนิเวศออนไลน์ที่ไม่เอื้อต่อการผลิตและเผยแพร่ข่าวเท็จ สร้างภูมิคุ้มกันเท่าทันให้ประชาชน วิเคราะห์ผลกระทบของข่าวเท็จว่าเป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความสะดวกและความเป็นธรรมให้ประชาชนอย่างไร และตรวจสอบปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐ

ทั้งนี้ในช่วงตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีคำถามจากผู้เข้าร่วมว่า สำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะเยาวชนและผู้สูงอายุเวลาเจอเรื่องหลอกลวงทางออนไลน์เรามีวิธีป้องกันอย่างไร? วิทยากรทั้ง 4 ท่าน ได้ให้คำแนะนำและเสนอแนวทางในการรับมือดังนี้

พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ กล่าวว่า เด็กรู้เร็วรู้เยอะ ผู้สูงอายุตามไม่ทัน ให้มีการเตือนกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบ่อย ๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ผู้ใหญ่จะได้ช่วยดูแลการใช้งานของเด็ก เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออกไป สำหรับผู้สูงอายุต้องค่อย ๆ ถาม ค่อย ๆ บอก ส่งข่าวให้อ่าน พยายามแลกเปลี่ยนเพื่อลดช่องว่างระหว่างวัย

พ.ต.อ.เจษฎา บุรินทร์สุชาติ

ผอ.สัจจะ โชคบุญส่งสวัสดิ์ กล่าวว่าการแก้ปัญหาเรื่องการหลอกลวงทางออนไลน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นการเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวสำหรับกลุ่มผู้เปราะบางอย่างผู้พิการ ที่จะได้รับผลกระทบ หากมีการออกมาตรการที่ไปปิดกั้นอะไรบางอย่าง ดังนั้นก็อาจจะต้องหาแนวทางแก้ไขกันต่อไปที่เหมาะสมกับทุกฝ่าย

ผอ.สัจจะ โชคบุญส่งสวัสดิ์

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ได้อ้างถึง หลักกาลามสูตร อย่าพึ่งเชื่อแม้ว่าคนพูดนั้นจะดูน่าเชื่อถือ  เราต้องตรวจสอบเองก่อนเสมอ การช็อปออนไลน์ ของถูก ของฟรี ไม่มีในโลก Too good to be truth ใช้หลักวิธีในการยับยั้งชั่งใจ มี Critical Thinking ให้ลูกหลานเป็นคนช่วยสอนผู้ใหญ่ในครอบครัว (Family Support) และทักษะการใช้เครื่องมือพื้นฐาน (Basic Skill Tools) ก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก็เป็นคำถามที่ว่าต้องทำยังไง อาจเริ่มจากขั้นแรกแบบอ่านออกเขียนได้และใช้เป็น

Supinya Klangnarong

รศ.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ กล่าวว่า อยากได้ความร่วมมือจากภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจ  สถาบันการศึกษาต้องมาช่วยให้ความรู้เยาวชน ให้รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้เท่าทัน และรอดพ้นจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจึงต้องพึ่งพาภาคส่วนต่าง ๆ มาช่วย อีกประเด็นสำคัญคือภูมิคุ้มกันว่าจะสร้างยังไงให้ประชาชนทุกคน เรื่องสำคัญคือความไม่โลภ บทบาทของโคแฟกอาจตอบโจทย์เรื่องนี้ได้

รศ.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์
Place for Justice 2023