DE

เกมเป็นแค่เรื่องเล่น ๆ จริงไหม

นักเรียนโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย

เกมเป็นแค่เรื่องเล่น ๆ จริงไหม

ตอนเด็ก ๆ หลายคนอาจจะเคยเล่นเกมต่างๆ กับเพื่อน ๆ บางเกมการละเล่นเป็นเกมที่ใช้กำลัง ถูกออกแบบมาให้ได้เล่นเพื่อพัฒนาร่างกาย บางเกมแบ่งทีมกันเป็นสองทีม ช่วยกันวางแผนว่าจะชนะฝ่ายตรงข้ามได้อย่างไร ใช้กลยุทธ์แบบไหนที่จะชนะคู่ต่อสู้ได้ หรือบางเกมต้องใช้ความเชี่ยวชาญ แข่งขันกับคนอื่น ๆ ให้ผ่านไปในแต่ละด่าน

เกมต่าง ๆ มักได้รับการนำมาใช้ในช่วงเวลาพักกลางวัน หรือหลังเลิกเรียน เกมมักถูกนำมาใช้ในกิจกรรมนันทนาการ สำหรับความบันเทิงและผ่อนคลาย เราจึงไม่ค่อยได้เห็นการนำเกมไปใช้เพื่อการเรียนรู้ในวิชาต่าง ๆ มากนัก

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกม ได้รับการพูดถึงอีกครั้งในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้หลายคนมองว่า เราสามารถเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์จากการเล่นเกมจึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องเล่น ๆ อีกต่อไป

คุณมีน รุ้งอรุณ

หัวข้อที่ใช่ ทำให้ได้กลับมาเจอคนที่ใช่

กลุ่มรุ้งอรุณ เคยร่วมเดินทางและจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนกับมูลนิธิฟรีดริช เนามันมาหลายปี และครั้งนี้เป็นการได้กลับมาพบกันอีกครั้ง เมื่อกลุ่มรุ้งอรุณทำโครงการรู้ทันข่าวลวง ที่ได้รับการสนับสนุนโดยกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มูลนิธิฟรีดริช เนามันได้พัฒนาเกมการ์ดพลังสื่อร่วมกันมาเป็นเวลากว่า 2 ปี จึงทำให้ทีมงานได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง โดยในครั้งนี้เราได้มาจัดกิจกรรมกันถึงจังหวัดลำปาง

คำถามเหตุการณ์ข่าวปลอม

เกมเชื่อมคน เกมเชื่อมสถานการณ์โลก

ก่อนเริ่มต้นกิจกรรม ทีมงานยังไม่ได้ให้น้อง ๆ เล่นเกม แต่ให้ลองสำรวจข่าวต่าง ที่ผ่านตาในสื่อต่างๆในชีวิตประจำวัน นักเรียนโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 96 คน ได้ช่วยกันคิดว่า ข่าวลวง หรือ ข่าวปลอมที่อยู่ในความสนใจของสังคมมีอะไรบ้าง แต่ละกลุ่มได้เสนอข่าวต่าง ๆ  เช่น ข่าวเรื่องไวรัสโคโรน่า ข่าวของการจัดการน้ำของภาครัฐ ข่าวลือที่เกี่ยวกับการปกครอง การใช้อำนาจไม่เป็นธรรม กระแสสังคมที่พยายามหาข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคนร้ายในคดีอาญาที่เป็นที่สนใจของสังคม หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มได้ ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ที่อยู่ในสื่อ ผ่านคำถามเท่าทันสื่อคือ อะไรอยู่ในสื่อ สื่อต้องการอะไรจากเรา ใครเป็นคนสร้างสื่อ เราแต่ละคนคิดยังไงต่อสื่อนั้น ๆ และทำจะตอบสนองต่อสื่อต่าง ๆ ยังไง สื่อที่ดีควรเป็นแบบไหน

media literacy workshop

ครูนักเล่นเกม สู่ว่าที่ครูนักนำเกม

ย้อนกลับไปเมื่อกลางปี 2019 มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ได้จัดการอบรม Facilitation Workshop และจัดอบรม Democracy and Human rights Workshop  อาจารย์โอ๊ะ อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร คือหนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 30 คน ที่นำเกม ไปใช้ในห้องเรียนอยู่บ่อยๆ ได้ชวนนิสิตมาสังเกตการณ์การอบรม การพบกันครั้งนั้น นำมาซึ่งการนำเกมที่มูลนิธิฯพัฒนาไปใช้เป็นสื่อการสอนในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร อีกหลายครั้ง และทำให้ทีมงานได้พบกับว่าที่คุณครูรุ่นใหม่ที่มีมุมมองต่อการศึกษาที่เปิดกว้าง พยายามเอาตัวเองไปเรียนรู้เครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสั่งสมประสบการณ์ในการสอน

การอบรมการรู้เท่าทันข่าวลวงในครั้งนี้ เราจึงได้ว่าที่คุณครูรุ่นใหม่ 4 คนที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์โอ๊ะ ร่วมเดินทางมาลำปาง เอิร์ธ เล่าว่าหลังเลิกเรียนพวกเราชอบไปคลุกอยู่ที่ห้องอาจารย์โอ๊ะ เพราะว่าในห้องอาจารย์จะมีบอร์ดเกมหลายเกมไว้ให้พวกเราเล่น พวกเราก็ไปใช้เวลาอยู่ในห้องนั้นกันอย่างจริงจัง อาจารย์โอ๊ะ เป็นแรงบันดาลใจของพวกเราที่ทำให้เห็นว่าการเรียนการสอนสามารถเอาเกมเข้าไปทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานได้”  

เอิร์ธเล่าต่อว่า จริง ๆ แล้วมีความฝันอยากเป็นนักพัฒนาเกมที่ไม่ใช่เกมเพื่อความบันเทิง แต่เป็นเกมที่อยู่บนพื้นฐานความรู้บางอย่าง อยากเอาเนื้อหายาก ๆ มาทำให้คนอยากรู้ได้ง่าย ๆ ผ่านการเล่นเกม

บุญวาทย์วิทยาลัย

ขยายเกมให้ใหญ่ ขยายการพูดคุยให้ลึก

เรื่องราวในการ์ดพลังสื่อ มีตั้งแต่มีเรื่องราวที่หลากหลาย มี นักท่องเที่ยวฮิปเตอร์ที่ขายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ของตัวเอง การรับชมโฆษณาต่าง ๆ ระหว่างเล่นเกมมือถือ การโฆษณาชวนเชื่อถึงสรรพคุณของสินค้าที่บอกว่ายิ่งกิน ยิ่งฉลาด ยิ่งกิน ยิ่งขาวสวย หลายครั้ง เมื่อเกมถูกมองว่าเป็นสื่อบันเทิง จึงไม่ค่อยมีการถอดบทเรียนจากการเล่นเกม สำหรับเกมการ์ดพลังสื่อ เมื่อเล่นจบแล้ว จะมีการถอดบทเรียนเสมอ หนึ่งในผู้เข้าร่วมเล่นการ์ดพลังสื่อ บอกว่า “พอเล่นมาทั้งหมดแล้ว รู้สึกว่าได้รู้จักเพื่อน ผ่านมุมมองที่เค้าตอบแต่ละคำถาม และได้รู้ว่าเราจะไม่ตัดสินเรื่องต่าง ๆ เร็วเกินไป แต่จะตั้งใจฟังมุมมองต่าง ๆ ที่หลากหลายให้จบก่อน”

เล่นเกมให้จบ และมีความเข้าใจในมุมมองที่แตกต่าง

การตั้งคำถามกับสื่อที่เห็นและการหาคำตอบด้วยเหตุและผล จึงเป็นวัตถุประสงค์หลักของการ์ดพลังสื่อ

อยากรู้เท่าทันสื่อผ่านเกมการ์ดพลังสื่อสามารถติดต่อขอรับเกมได้จาก กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ประเทศไทย

 

thailand.fnst@gmail.com

Facebook page: เกมการ์ดพลังสื่อ

#ใครๆก็เล่นเกม #การ์ดพลังสื่อ #รู้เท่าทันสื่อ

ภาพรวมกิจกรรม