DE

เทศกาลเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชาติ ณ นราธิวาส

Human Rights Humankind

(จากซ้ายไปขวา) ดร. พิมพ์รภัช คุณพรเพ็ญ คุณพาตีเมาะ ดร. อิบรอฮิม และคุณรัชนี ถ่ายภาพร่วมกันหลังการเสวนาเปิดตัวหนังสือ

เวทีเปิดตัวหนังสือ Human Rights Human ลอง และเทศกาลเสรีภาพ ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดนราธิวาส เทศกาลเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชาติ จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างเคารพสิทธิให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไปในการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม

"งานวันนี้เกิดขึ้น เพราะความคิดที่จะเปิดพื้นที่ สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ เราทุกคนมาร่วมกันด้วยความตั้งใจ เชื่อมั่น และศรัทธาที่จะรังสรรค์กิจกรรมในวันนี้ร่วมกัน ในบรรยากาศและสถานที่ที่ดี เต็มไปด้วยความรู้และเสรีภาพ สิ่งที่ทำให้แตกหัก เกิดความขัดแย้งมาจากการที่เราถูกลิดรอนสิทธิของพวกเราเอง หากแต่แท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชนคือการนำความใส่ใจมาปฏิบัติ เคารพในความแตกต่างหลากหลาย ไม่นำไปสู่ความแตกแยก ไม่นำไปสู่ข้อจำกัดอันนำไปสู่สิทธิอื่นๆ” คุณพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เล่าถึงที่มาของงานเทศกาลแห่งเสรีภาพขณะกล่าวเปิดงาน

“เมื่อมีคนขยับ ซึ่งไม่ค่อยมีมากนักในบริบทของบ้านเรา ก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เรื่องสิทธิที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ และเสรีภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนมี แต่ด้วยขอบเขตหรือปัจจัยอื่น ส่งผลต่อความเป็นมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะโดยไม่รู้หรือไม่ระวังก็ตาม...มีหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจมาก หากเราอยากรู้ว่าสิทธิ เสรีภาพเป็นอย่างไร การให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ามหาศาล” คุณพาตีเมาะเสริม

 

เมื่อมีคนขยับ ซึ่งไม่ค่อยมีมากนักในบริบทของบ้านเรา ก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้เรื่องสิทธิที่เป็นพื้นฐานของมนุษย์ และเสรีภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนมี แต่ด้วยขอบเขตหรือปัจจัยอื่น ส่งผลต่อความเป็นมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะโดยไม่รู้หรือไม่ระวังก็ตาม...มีหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจมาก หากเราอยากรู้ว่าสิทธิ เสรีภาพเป็นอย่างไร การให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นอย่างไร หนังสือเล่มนี้มีคุณค่ามหาศาล

พาตีเมาะ สะดียามู, รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส

เทศกาลเสรีภาพ ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ส่วน คือ ช่วงสิทธิสนทนา ในช่วงเช้า เป็นการชวนคุยเรื่องสิทธิมนุษยชน และเปิดตัวและแนะนำหนังสือ Human Rights Human ลอง ให้กับอาจาย์ นักเรียน และผู้สนใจ ตามด้วยการอบรมกิจกรรมจากหนังสือคู่มือจัดกิจกรรม ช่วงชวนคุยบนเวที มีการสอบถามและดึงผู้ฟังให้มีส่วนร่วมในบทสนทนา ผ่านการขอคำแนะนำและถาม-ตอบกับผู้ฟัง หนังสือ Human Rights Human ลอง เกิดจากความร่วมมือระหว่าง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน ในการรวมรวมประสบการณ์จากการอบรมและบทสัมภาษณ์จากนักกิจกรรม ครู อาจารย์ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่ให้เราอ่าน แต่ยังรวมไปถึงถึงการเลือกสรรค์คำ เพื่อให้สื่อความหมาย และเข้าใจไปถึงบริบท และคุณค่าสิทธิมนุษยชน และนำเราไปสู่การ “ลอง” ปฏิบัติได้ หนังสือเล่มนี้มีส่วนทำให้ “สิทธิมนุษยชน” เป็นคำที่ไม่ซับซ้อนอย่างกฎหมาย แต่ได้สอดแทรกเนื้อหาและคุณค่าสิทธิมนุษยชนไปในกิจกรรม

Human Rights Humankind

มูลนิธิฟรีดริช เนามัน กับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ทำงานในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเหมือนกัน แต่เราไม่เคยได้ทำงานด้วยกัน – จากงานเทศกาลแห่งเสรีภาพ เมื่อปี 2560 นำมาสู่ความร่วมมือในการจัดทำหนังสือคู่มือจัดกิจกรรมร่วมกัน เป็นการรวบรวม คัมภีร์ การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนจากแหล่งต่างๆ รวมถึงรวบรวมประสบการณ์จากการอบรม และบทสัมภาษณ์จากนักกิจกรรม ครู อาจารย์ มารวมไว้ในหนังสือ Human Rights Human ลอง เพื่อให้เราได้ “ลอง” อ่าน และลองใช้ ลองเปิดใจกับหนังสือเล่มนี้ในการสื่อสารและส่งต่อคุณค่าสิทธิมนุษยชน”

ดร. พิมพ์รภัช ดุษฏีอิสริยกุล
Human Rights Humankind

บรรยากาศระหว่างช่วง สิทธิสนทนา พูดคุยและแนะนำหนังสือ Human Rights Human ลอง

หนังสือไม่เพียงแต่ให้เราอ่าน แต่ยังคิดไปถึงการเลือกสรรค์คำ เพื่อให้สื่อความหมาย และเข้าใจไปถึงบริบท และคุณค่าสิทธิมนุษยชน และนำเราไปสู่การปฏิบัติได้

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ

คำว่าสิทธิมนุษยชนถูกมองว่าเป็นเรื่องยาก และถูกนำไปจับกับกฎหมาย หนังสือเล่มนี้ได้แนะนำกิจกรรมที่สอดแทรกเนื้อหาและคุณค่าสิทธิมนุษยชน ทำให้การเรียนรู้สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่จับต้องได้และเรียนรู้ไปด้วยกันได้ เพิ่มความเข้าใจให้กับเนื้อหาต่อไป

Human Rights Humankind
อิบรอฮิม สารีมาแซ

ด้วยงานนี้เป็นทั้งการเปิดตัวหนังสือ Human Rights Human ลอง และเป็นการจัดเทศกาลเสรีภาพ ภายในงานจึงมีกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เช่น เกมการ์ดพลังสิทธิ การเขียนเพื่อสิทธิ และมีการแสดงดนตรีเพื่อเสรีภาพด้วย

Human Rights Humankind

ตั๊ก ธิดานันท์ สุขมิสา เสนอมุมมองแห่งเสรีภาพผ่านบทเพลงของเธอ

คุณตั๊ก ธิดานันท์ สุขมิสา ผู้ชนะโครงการเสรีภาพ เสรีเพลง 2560 ได้มาเล่าถึงประสบการณ์ และเส้นทางดนตรีแห่งเสรีภาพของเธอ  การเลือกเส้นทางดนตรีของตั๊ก ธิดานันท์ สุขมิสา ที่เริ่มฝึกดนตรีตั้งแต่ป. 4 และหลงไหลในเสียงดนตรี จนไปเรียนต่อด้านดนตรี ที่มหาวิทยาลัยศิลปกร ทำให้ได้เริ่มแต่งเพลงอย่างจริงจังตอนเรียนมหาวิทยาลัย เมื่อได้รับโจทย์ “บ้าน” ให้แต่งเป็นเพลง ตั๊ก เลยนึกถึงบ้านและตัวเองขณะที่นั่งรถไฟกลับบ้านที่ยะลา ฉายภาพและความยาวนานในการนั่งรถไฟกลับบ้าน ด้วยความอยากลอง ตั๊ก จึงส่งเพลง “เรื่องเล่าของการเดินทางตามรางรถไฟ” มาประกวดในโครงการเสรีภาพ เสรีเพลง สำหรับตั๊ก ดนตรีสื่อสารกับคน ทำให้คนสนใจ แม้ว่าจะไม่ตั้งใจฟัง แต่มันง่ายในการสื่อสาร

เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างองค์กร และภาคีที่อยากจะช่วยกัน “ขยับ” และสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ในการส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และคนในพื้นที่ รวมไปถึงการเคารพกันและกัน เทศกาลเสรีภาพเป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฟรีดริช เนามัน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย อุทยานการเรียนรู้นราธิวาส (TK Park Narathiwat) เทศบาลเมืองนราธิวาส และจังหวัดนราธิวาส รวมถึงภาคประชาสังคมและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ อาทิ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี หัวใจเดียวกัน สานสายใยวัฒนธรรม Digital4Peace ดิจิทัลเพื่อสันติภาพ และร้อยพลัง รังสรรค์วิถี