DE

มหาวิทยาลัยศิลปากรและเส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลง

Strategic Planning workshop

จาก Reform Agenda ขยายและพัฒนามาสู่ SU Transformation ภายใต้ชื่อ SU Transformation Think Tank อาจารย์ ดร. สุภาพ เกิดแสง ผู้ช่วยอธิการบรดีฝ่ายพัฒนาองค์กร เล่าถึงแนวทางและกรณีศึกษาในการพัฒนา รวมถึง การพัฒนาบุคลากร แบบ AMRR – Agility, Mindset, Reskill, Redesign และชุดทักษะ 4Cs – Collaboration, Communication, Complex Problem Solving และ Creativity เพื่อให้เห็นภาพการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลง และเล่าถึงแนวการปรับองค์กรของ AIS ว่า 1) ทำในสิ่งที่เป็นพื้นฐานให้ดีที่สุดก่อน 2) แบ่งคน แบ่งทีม เป็น “เรือใหญ่” และ “เรือเล็ก” 3) จริงใจ, ชัดเจน และเป็นธรรม 4) Only the paranoid survive! คือ ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ นี่จึงเป็นเวลาที่มหาวิทยาลัยต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่าจะมุ่งหน้าไปในทิศทางใดในการรับมือความเปลี่ยนแปลง

ศาสตราจารย์ ดร. พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เพิ่มเติมถึงจุดเริ่มต้นในการ “ปฏิวัติ” มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2561 เมื่อบทบาทและหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยถูกท้าทาย มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้แต่ตัวชี้วัดผลงานก็ยังปรับรูปแบบจาก KPI เป็น OKR

เริ่มจากสิ่งเล็กๆ

จากการแนวคิดเริ่มจากสิ่งเล็กๆ แบ่งให้เรือเล็กออกไปทดลอง ขณะที่เรือใหญ่ยังคงขับเคลื่อนต่อไป นำไปสู่กิจกรรมการแบ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยศิลปากรที่เห็นใน 5 ปีข้างหน้า รวมถึงเรือเล็กที่จะทดลองสร้างความเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเรือใหญ่ได้

D – All I can do ทุกการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ เพราะในการเสนอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมักจะถูกปฏิเสธก่อน ทั้งที่จริงแล้วมีทางเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับสร้างความหลากหลายและบูรณาการให้แก่กัน และยังนำไปสู่การสร้างสรรค์และฐานที่มั่นคงในการสนับสนุนอาชีพในอนาคต และตอบโจทย์กับการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ผ่านแนวคิดว่าเราทำได้และจะทำให้ดีที่สุดเพื่อมหาวิทยาลัย

เฟ้นหาเจ้าภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะช่วยได้น่าจะเป็นเรื่องระบบและระเบียบ เพื่ออำนวยให้เกิดการหารายได้อย่างสะดวกกว่าเดิมในการบริหารจัดการและทุนสำหรับการวิจัย โดยเริ่มจากการมีเจ้าภาพที่เข้มแข็งเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังต้องกลับมาตั้งคำถามในการพัฒนาหลักสูตร เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรอีกครั้ง นอกจากนี้การมีทีมสนับสนุน ระบบ กฎเกณฑ์ ที่สนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการสนับสนุน นำมาสู่ 3 คน ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย ได้แก่

1) นักบริหารการเงินและนักยุทธศาสตร์ ที่สร้างสมดุลและบริหารการเงิน รวมถึงวางยุทธศาสตร์ไปพร้อมกัน

2) พ่อบ้าน ที่คอยดูแลปัญหา เก็บกวาดปัญหา ให้บ้านเป็นระเบียบ รวมถึงดูแลและให้สัญญาณในการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้การสื่อสารอย่างเข้าใจยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนา และ

3) พนักงานขับรถไฟ เชื่อมต่อและขับเคลื่อนวิทยาเขตต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันและสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน

จากภาพที่เห็นมหาวิทยาลัย จึงได้มีการระดมความคิดเกี่ยวกับโครงการที่จะทำต่อไปได้ ทั้งการสื่อสารเชิงรุก การบริหารจัดการขยะที่เกี่ยวข้องกับระเบียบของมหาวิทยาลัย การสร้างพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงหลักสูตรและรายวิชาทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายศิลปะให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ รวมไปถึงการสร้างพื้นที่รวมกลุ่มและแลกเปลี่ยน นำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อไป เหล่านี้เป็นข้อเสนอที่มหาวิทยาลัยลงมือทำเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ให้กับมหาวิทยาลัย